วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สมุดรายงานความดี-เก่ง ของ ผม

ประวัติส่วนตัว
ชื่อ นาย สุวิชัย สกุล โพบุญธรรม
เกิดวันที่24 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2532
ที่อยู่ปัจจุบัน 627 เทิดไท 9 ถ. เทิดไท แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี 10600 กทม.
สุขภาพ แข็งแรงดีไม่มีโรค
โรคประจำตัว ไม่มี
เคยแพ้ยา ไม่เคย
บิดาชื่อ นาย สังวล สกุล คำฉิม มือถือ ไม่มี
มารดาชื่อ นางจงกล สกุล โพบุญธรรม มือถือ 084-072-0924
อาจารย์ที่ปรึกษา อ.อำภา ธรรมโยธิน
มือถืออาจารย์ที่ปรึกษา 0814134242
เลขที่สัญญากองทุนเพื่อการศึกษา
เลขที่บัตรประชาชน 1101401818452

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

งานอ.อาทิตย์ 3



User
Password
checkbox
radio
Password
textarea
Dropdown


วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

งานอ.อาทิตย์1

1.ข้อความ

สุวิชัย โพบุญธรรม


2.ตัวหนา
ตัวหนา

3.ตัวเอียง
ตัวหนังสือเอียง

4.ขีดเส้นใต้
ตัวหนังสือจะมีขีดเส้น

5.ขึ้นบรรทัดใหม่
sonic
kapook
sanook
pramool


6.เส้นคั่น



7.หัวข้อเรื่อง
หัวข้อที่ 1
หัวข้อที่ 2

หัวข้อที่ 3

หัวข้อที่ 4


หัวข้อที่ 5


หัวข้อที่ 6


หัวข้อที่ 7



8.1ใส่สัญลักษณ์หน้า Text

  • ข้อความที่ 1
  • ข้อความที่ 2
  • ข้อความที่ 3


8.2รายการแบบตัวเลข

  1. รายการ
  2. รายการ

งานอ.อาทิตย์ 2


ค้นหาใน GOOGLE.CO.TH

ดูวีดีโอออนไลน์ใน เว็บ Mthai



ตารางที่1
เว็บไซต์
รายละเอียด
http://www.0musiconline.com
TA.Allrightreserved.
เป็นศูนย์รวมแหล่ง ฟังเพลง ต่างๆ
ลิงค์ www.0musiconline.com
http://www.vdokaraoke.com
Revolution City theme by Brian Gardner
เป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับ คาราโอเกะ
ลิงค์ www.vdokaraoke.com
http://www.hottrendvideo.com
อีเมล์ hottrendvideo@yahoo.com
เป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการดูหนัง
ลิงค์ www.hottrendvideo.com
http://www.pantip.com
Nation Mutimedia
เป็นเว็บไซต์ที่สามารถใช้พูดคุณสื่อสาร
ลิงค์ www.pantip.com
http://map.longdo.com/
Metamedia Technology Co., Ltd.
เป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับแผนที่ของประเทศไทย
ลิงค์ http://map.longdo.com/
http://www.pramool.com
Pramool Dot Com Co.,Ltd.
เป็นเว็บที่เปิดให้บริการในการประมูลสินค้า
ลิงค์ www.pramool.com
www.soi99.com
contact webmaster@soi99.com.
เป็นเว็บที่เกี่ยวข้องกับเกมส์ต่าง ๆ
ลิงค์ www.soi99.com
http://www.thaiware.com
Thaiware Communication Co.,Ltd.
เป็นเว็บไซต์ที่สามารถค้นหาโปรแกรม
ลิงค์ www.thaiware.com
http://www.yahoo.com
Yahoo! Inc. All rights reserved.
เป็นเว็บไซต์ที่สามารถหาข้อมูลหรือให้บริการอีเมล์ต่าง ๆ
ลิงค์ www.yahoo.com
http://www.manuclub.com
Terms & Condition
เป็นเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลข่าวสารกับนักเตะทีม ManU
ลิงค์ www.manuclub.com

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

บทที่ 6

บทที่ 6 การใช้อินเตอร์เน็ต
1.ความหมายของอินเตอร์เน็ตอินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายนานาชาติที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มารวมเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่ายภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกัน คือ TCP/IP
เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเตอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้
2.ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตเครือข่ายอาร์พาเน็ตเป็นเครือข่ายทางการทหาร สังกัดกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งเมื่อปี 2512 ใช้งานวิจัยด้านทหารติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ต่อมามหาลัยวิทยาลัยต่าง ๆ สนใจและขอร่วมโครงการทำให้เครือข่ายอาร์พาเน็ตมีขนาดใหญ่มากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาในการบริหารเครือข่าย ดัวนั้นทางการทหารจึงขอแยกตัวออกเป็นเครือข่ายเฉพาะของกองทัพใช้ชื่อว่า มิลเน็ต และมีการติดต่อกับเครือข่ายอาร์พาเน็ตเดิมด้วยเทคนิคการโต้ตอบ หรือโปรโตคอล แบบพิเศษที่เรียกว่า ทีซีพี/ไอพีเป็นครั้งแรกจนกระทั้งปี 2533 ยุติเครือข่ายอาร์พาเน็ต และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายอื่น ๆ แทน และได้มีการเชื่อมต่อเครือข่ายอื่น จนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ จนถึงทุกวันนี้และเรียกเครือข่ายนี้ว่า “อินเตอร์เน็ต”
3.ISPISP หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ย่อมาจาก Internet Service Provider เป็นหน่วยงานที่ให้บริการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำหน้าที่เปิดการเชื่อมต่อให้บริการบุคคลหรือองค์กร สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ สำหรับประเทศไทยมีหน่วยงานที่ให้บริการด้านนี้อยู่ 2 ประเภท คือ ผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ และผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตสำหรับสถาบันการศึกษาการวิจัยและหน่วยงานของรัฐISP ประเภทนี้ให้บริการในเชิงพาณิชย์ ผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ ISP รายนั้น ๆ ซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต อัตราค่าบริการจะขึ้นอยู่ที่ ISP แต่ละราย ข้อดีสำหรับผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ก็คือ การให้บริการที่มีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งรับรองกับความต้องการของผู้ใช้ที่แตกต่างกัน มีทั้งรูปแบบส่วนบุคคลซึ่งจะให้บริการกับประชาชนทั่วไปที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตและบริการในรูปแบบขององค์กร หรือบริษัทสามารถเลือกรับบริการได้ 2 วิธี คือ ซื้อชุดอินเทอร์เน็ตสำเร็จรูปตามร้านค้าทั่วไปมาใช้และสมัครเป็นสมาชิกรายเดือนISP ประเภทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตสำหรับสถาบันการศึกษา การวิจัยและหน่วยงานของรัฐ เช่น เครือข่ายไทยสาร เครือข่ายคนไทย เป็นต้น
4.การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
1.การเชื่อมต่อโดยหมุมโมเด็ม ผ่านสายโทรศัพท์ หรือหากใช้โทรศัพท์แบบ ISDN ต้องใช้โมเด็มแบบ ISDN โดยเฉพาะด้วยหรือการต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่เรียกว่า ADSL หรือบรอดแบนด์ ต้องมีโมเด็มแบบธรรมดา แต่ต้องมีอุปกรณ์พิเศษที่ชุดสายด้วยจึงจะใช้งานได้การเชื่อมต่อโดยหมุนโมเด็ม สิ่งที่จำเป็นจะต้องมีได้แก่-สมัครสมาชิกกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ISP เสียก่อน สิ่งที่ได้คือ ชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่าน-สายโทรศัพท์-โมเด็ม มีแบบ Internal Modem และ External Modem
2.การเชื่อมต่อแบบระบบ LAN หรือการเชื่อมต่อเครือข่ายภายในองค์กร หากหน่วยงานมีบริการแบบ DHCP ก็ไม่จำเป็นต้องติดตั้งหมายเลข IP Address สามารถใช้งานได้เลย หากจำเป็นต้องขอหมายเลข IP จากหน่วยงานผู้ให้บริการก็สามารถติดตั้งได้ดังนี้
1.คลิกขวาที่ไอคอน My Network Places ปรากฏเมนู2.คลิกที่ Properties
3.คลิกขวาที่ไอคอน Local Area Connection แล้วคลิก Properties
4.คลิกขวาที่ Internet Protocol(TCP/IP)
5.คลิกที่ Properties6.ระบุหมายเลข IP Address7.คลิกปุ่ม OK
5.ศัพท์ที่สำคัญในอินเทอร์เน็ต
1.โปรโตคอล เป็นข้อตกลงที่ทุกเครื่อง ทุกโปรแกรมต้องรู้และทำตามเป็นแบบหรือมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก เช่น TCP/IP เป็นกติกาหลักในการรับข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ข้อมูลทุกรูปแบบไม่ว่าจากโปรแกรมใดก็ต้องแปลงให้อยู่ในมาตรฐานของ TCP/IP เสียก่อนจึงจะรับส่งได้ กติกานี้กำหนดวิธี ขั้นตอนในการรับส่งข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้องอย่างรัดกุม ส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้คือการเรียกชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งทางเทคนิคเรียกว่า ที่อยู่หรือ IP Address เป็นต้น ตัวเลข 4ชุด แต่ละชุดมีค่าระหว่าง 0-255 คั่นด้วยจุด เช่น 202.172.132.1 เป็นต้น ซึ่งจะต้องตั้งชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ได้นับล้านโดยไม่ซ้ำกัน
2.ชื่อโดเมนเนม การนำชื่อโดเมนมาใช้แทน IP Address ทำให้จดจำชื่อโดเมนได้ง่ายขึ้นกว่าการจำ IP Address ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ ของ www.CNN.com
Internet Address คือ IP Address ที่อยู่ในรูปแบบของตัวอักษร โดยตัวย่อของ Internet Address จะมีความแตกต่างตามหน่วยงานที่ดูแลการจดชื่อโดเมน สำหรับประเทศไทย มี7 ประเภทด้วยกันคือ.net.th สำหรับหน่วยงานของไทยที่ให้บริการเครือข่าย.co.th สำหรับองค์กรธุรกิจที่จดทะเบียนในไทย.or.th สำหรับองค์กรของไทยที่ไม่แสวงหากำไร.ac.th สำหรับหน่วยงานสถาบันการศึกษาของไทย.mi.th สำหรับหน่วยงานทางการทหารของไทย.in.th สำหรับองค์กรหรือบุคคลทั่วไปของไทย
3.เวิลด์ไวด์เว็บ หรือเว็บเพจ คือบริการฐานที่ใช้กันมากที่สุดเป็นรูปแบบของเอกสารที่ดูในคอมพิวเตอร์ได้โดยใช้โปรแกรมเว็บเบราเชอร์
4.เว็บเซิร์ฟเวอร์ หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการเว็บไซต์ ผู้เรียกชมหน้าเว็บไซต์ได้โดยใช้โปรโตคอล HTTP ผ่านทางเว็บเบราเชอร์
5.โปรโตคอลของเว็บ เป็นกติกาที่ใช้เรียกดูข้อมูลจากเว็บซึ่งเรียกใช้ได้โดยระบุคำว่า http:// ถ้าไม่ใส่โปรแกรมเว็บเบราเชอร์จะเปิดให้อัตโนมัติ ส่วนการรับส่งไฟล์ด้วย FTP://แทนเพราะว่าเป็นการส่งให้อีกเครื่องหนึ่งส่งไฟล์มาโดยตรง
6.เว็บเพจ คือหน้าหนึ่ง ๆ ของเว็บไซต์ที่เปิดขึ้นมาใช้งาน
7.เว็บไซต์ คือหน้าเว็บเพจหลาย ๆ หน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงค์
8.โฮมเพจ คือเว็บเพจหน้าแรกที่ปรากฏของแต่ละเว็บไซต์ หรือหน้าแรกที่ปรากฏขึ้นเมื่อเปิดโปรแกรมเว็บเบราเชอร์
9.ภาษาของเว็บ เป็นภาษาที่ใข้ในการจัดหน้าเว็บเพจ มีชื่อไฟล์เว็บเพจส่วนขยายเป็น .htm หรือ .html
10.ยูอาร์แอล คือการอ้างอิงตำแหน่งที่ตั้งของไฟล์บนอินเตอร์เน็ต
6.การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต
1.ด้านการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจากห้องสมุดออนไลน์ ศึกษาบทเรียนวิชาต่าง ๆ ฝึกทำข้อสอบ เกมการศึกษาสำหรับเด็ก และบริการข้อมูลข่าวสาร ต่าง ๆ
2.ด้านธุรกิจปัจจุบันได้มีธุรกิจการค้าเกิดขึ้นมากมายในรูปแบบต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า E-Commerce มีทั้งโฆษณาแบะการให้บริการสินค้า ซึ่งค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการโฆษณาด้วยสื่อ อื่น ๆ ผู้ซื้อสามารถเลือกซื้อสินค้าผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ตได้ด้วยวิธีการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต ต่าง ๆ แบะยังสามารถหางานและสมัครงานผ่านระบบนี้ได้อีกด้วย
3.ด้านการสื่อสาร ใช้สำหรับรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือสามารถพูดคุยกับเพื่อนได้ทั่วโลก โดยไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์ทางไกล โดยใช้โปรแกรมสนทนา หรือโปรแกรมต่าง ๆ เช่น MSN, Skype, Net2Phone , Cattelecom เป็นต้น
4.ด้านการบันเทิง ข้อมูลข่าวสารมีอยู่มากมาย เช่น ดูภาพยนตร์ ทีวี ฟังเพลง เล่รเกมออนไลน์ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
7.อีเมล์และการรับส่งอีเมล์อีเมล์ คือกล่องจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้ใช้บริการสามารถรับและส่งอีเมล์ฝยอินเตอร์เน็ต เพื่อประโยชน์ด้านการสื่อสารโปรแกรมที่ใช้รับส่งอีเมล์จะรับส่งผ่านเครื่องที่ให้บริการรับส่งเมล์ จะเรียกว่า “เมล์เซิร์ฟเวอร์” ปัจจุบันบริการอีเมล์ผ่าน Web-Based Mail ได้รับความนิยมอย่างมาก จึงมีหลายบริษัทเปิดให้บริการฟรีอีเมล์ เช่น Hotmail.com , Yahoo.com , thaimail.com , Gmail.com , Chaiyo.com thaiall.com เป็นต้น

บทที่ 5

บทที่ 5 ระบบเครือข่ายเบื้องต้น
1.ความหมายของระบบเครือข่ายคือระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่อง นำมาเชื่อมต่อเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อสามารถใช้งานแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารรวมถึงการใช้ทรัพยากรบางอย่างของระบบร่วมกันได้
การนำเอาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้งาน1.ใช้ทรัพยากรร่วมกัน คือเพื่อใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน ซึ่งจะประหยัดกว่าการมีอุปกรณ์เหล่านี้หลาย ๆ ชุด2.ใช้ข้อมูลในไฟล์ร่วมกัน คือ ข้อมูลชุดเดียวกันสามารถเรียกใช้งานได้จากหลายๆ เครื่อง3.ความสะดวกในการดูแลระบบคือทำให้สามารถดูแลและบริหารระบบได้จากที่เดียวกัน
ประเภทของเครือข่าย
แบ่งได้กว้างๆ 2ลักษณะ
LAN เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันในระยะจำกัด
WAN เป็นการเชื่อมต่อแลนในสถานที่ต่าง ๆ เข้าด้วยกันผ่านระบบสื่อสารอื่น ๆ
ข้อจำกัดของระบบเครือข่าย
1.การเรียกใช้ข้อมูลทำได้ช้า ระบบเครือข่ายการเรียกข้อมูลไม่ว่าจะเป็นการอ่านหรือเขียนก็ตาม มักจะช้ากว่าการอ่านหรือเขียนกับฮาร์ดดิสก์ หากเป็นระบบเครือข่ายความเร็วสูงก็อาจจะช้าไม่มากนัก
2.ข้อมูลไม่สามารถใช้งานได้ทันที อุปกรณ์ที่แบ่งกันใช้อาจไม่สามารถเรียกใช้ทันที เพราะหากมีคนอื่นใช้อยู่ ต้องเข้าคิวรอ ทั้งนี้ขึ้นกับลักษณะงาน
3.ยากต่อการควบดูแล การนำระบบคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่อง ซึ่งทำงานเป็นอิสระจากกัน แต่จัดให้ทำงานร่วมกัน ย่อมมีความสลับซับซ้อนและยากในการดูแลกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวที่อยู่ตรงหน้า ซึ่งสามารถสั่งงานได้ตามต้องการ ไม่เหมือนกับการดูแลระบบระบบคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกัน มีโอกาสที่จะถูกผู้อื่นแอบเข้ามาใช้งาน
2.องค์ประกอบของระบบเครือข่าย
2.1 อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์1.การ์ดแลน เป็นการ์ดสำหรับต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับสาย LAN ด้านหลังการ์ดจะมีช่องสำหรับเสียบสายเคเบิล
2.ฮับ/สวิตช์ เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นในการต่อระบบเครือข่าย ข้อดีของการใช้ฮับ คือทำให้เกิดลักษณะการเดินสายที่คล้ายกับ Star แต่ทำงานในแบบ Bus คือทุกๆ node จะสามารถส่งสัญญาณถึงกันได้หมดแต่ถ้ามี node ไหนทมีปัญหาก็สามารถดึงออกได้ง่าย
2.2 ซอฟต์แวร์ คือโปรแกรมต่าง ๆ ตั้งแต่โปรแกรมที่เป็นไดรเวอร์คอมคุมการ์ดแลนโปรแกรมที่จัดการโปรโตคอล ในการติดต่อสื่อสาร
2.3 สื่อกลางนำข้อมูล สื่อกลางนำข้อมูลในระบบเครือข่าย เริ่มตั้งแต่สายเคเบิลต่าง ๆ มีหลักการพิจารณา ดังนี้1.สายเคเบิล สายโคแอกเชี่ยล เป็นสายเส้นเดียวแบบที่มีเปลือกสายเป็นโลหะถัก เพื่อป้องกันคลื่นรบกวนมี 2 แบบ คือ แบบหนา และ แบบบาง โดยมากใช้กับเครือข่ายแบบ Ethernet แบบเดิม ซึ่งสามารถใช้ต่อเชื่อมระหว่างแต่ละเครื่องโดยตรง
2.สาย UTP เป็นสายขนาดเล็กคล้ายสายโทรศัพท์มี 8 ตีเกลียวเป็นคู่ ๆ เพื่อลดสัญญาณรบกวน แต่ไม่มีเปลือกเป็นโลหะถัก ทำให้กะทัดรัดกว่า แต่ลักษณะการเดินสายต้องต่อจากเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับ Hub เท่านั้น
3.สาย STP เป็นสายคู่เล็ก ๆ ตีเกลียวไขว้กันแบบสาย UTP แต่มีฉนวนหรือเปลือกหุ้มเป็นโลหะถักเพื่อป้องกันสัญญาณ ใช้เชื่อมต่อเป็นระยะทางไกลเกินกว่าที่จะใช้สาย UTP ได้ หรือใช้กับ LAN แต่ไม่แพร่หลายมากนัก4.สายใยแก้วนำแสง เป็นสายที่ใช้กับการส่งสัญญาณด้วยแสง ซึ่งจะต้องมีอุปกรณ์พิเศษโดยเฉพาะ มีข้อดีที่ส่งได้เป็นระยะไกล โดยไม่มีสัญญาณรบกวน และมักใช้ในกรณีที่เป็นโครงข่ายหลักเชื่อมระหว่างเครือข่ายย่อย ๆ มากกว่าลักษณะของสัญญาณไฟฟ้าที่รับส่งกันปกติคอมพิวเตอร์ทำงานกับสัญญาณที่เป็นระบบ ดิจิตอล หรือแรงดันไฟฟ้าสูงกับต่ำ ในระบบเครือข่าย การส่งข้อมูลในลักษณะของสัญญาณดิจิตอลแบบนี้เรียกว่า Baseband คือ ใช้ความถี่พื้นฐานของสัญญาณข้อมูลจริง แต่การส่งแบบนี้มีปัญหาคือ ถูกคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือสัญญาณรบกวนต่าง ๆ ได้ง่าย จึงมีการนำเอาคลื่นความถี่สูงเข้ามาใช้เป็นคลื่นพาหะ โดยผสมสัญญาณข้อมูลเข้ากับคลื่นพาหะนี้ในแบบของการผสมทางความถี่
ลักษณะการแบ่งกันใช้สาย1.แบบ CSMA/CD วิธีนี้ใช้ในกรณีของ Ethernet รวมถึงมาตรฐานใหม่ ๆ เช่น Fast Ethernet ด้วย โดยในขณะใดขณะหนึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะคอยว่าสายว่างหรือไม่ ถ้าพบว่าสายว่างจะส่งสัญญาณออกมา ซึ่งถ้าสายข้อมูลว่างจริงข้อมูลก็จะไปถึงผู้รับได้เลย แต่การเริ่มส่งสัญญาณนี้อาจเกิดขึ้นจากหลาย ๆ สถานีพร้อม ๆ กันได้เพราะต่างคนต่าง คอยและเข้าใจว่าว่างพร้อมกัน ผลก็คือสัญญาณที่ได้จะชนกันในสายทำให้ข้อมูลใช้ไม่ได้
เครื่องที่ส่งข้อมูลก็จะต้องสามารถตรวจจับการชนกันหรือ Collision detection ได้ 2.แบบ Token-passing วิธีนี้ใช้หลักที่ว่าในขณะใดขณะหนึ่งจะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวใน LAN ที่มีสิทธิ์ในการรับส่งข้อมูล โดยมีรหัสที่เรียกว่า Token เก็บไว้ เมื่อส่งข้อมูลออกไปเสร็จแล้วก็จะส่งรหัส Token นี้ออกไปให้เครื่องอื่น ๆ ตามลำดับที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ถ้าเครื่องไหน เมื่อได้รับรหัสแล้ว ยังไม่ต้องการส่งข้อมูลก็จะส่ง Token ต่อไปให้เครื่องอื่นตามลำดับ
3.มาตรฐานของระบบเครือข่าย
ระบบLAN ที่ใช้กันในปัจจุบันมีลักษณะทางฮาร์ดแวร์ที่ยึดมาตรฐานของสถาบันวิศวกรรมและอิเล็กทรอนิกส์สหรัฐ ฯ หรือ IEEE โดยแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ อีเทอร์เน็ต และ Token-Ringโดยมีเกณฑ์หรือโปรโตคอลแบบCSMA/CD ซึ่งเป็นชื่อมาตรฐานของ Ethernet นั้นจะแยกแยะได้ด้วยรหัสด้งนี้
-ความเร็ว หมายถึง ตัวบอกว่าระบบนั้นทำความเร็วได้เท่าไร ปัจจุบันมีใช้กันคือ 10,100 หรือ 1000 เมกะบิตต่อวินาที ซึ่งตัวเลขนี้จะเป็นค่าเลขนี้จะเป็นค่าสูงสุดที่ระบบ LAN นั้นทำได้ในกรณีที่ไม่มีอุปสรรคอื่นใดมาถ่วงให้ช้าลง ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วจะได้ความเร็วต่ำกว่านี้มาก และการนำไปใช้เทียบเท่ากับค่าอื่น ๆ-วิธีการส่งสัญญาณ ปกติรหัสที่ใช้บอกการส่งสัญญาณทางไฟฟ้าบนระบบ Ethernet จะมี 2 ลักษณะคือ Baseband และ Broadband Baseband คือส่งเป็นสัญญาณแบบดิจิตอล 0 และ 1 หรือแรงดันไฟฟ้า 0 และ 5 โวลต์ โดยไม่มีการแสดงผสมสัญญาณกับความถี่สูงอื่นใด วิธีนี้การทำงานจะง่ายทั้งวงจรรับส่งข้อมูลแต่จะถูกรบกวนได้ง่ายและส่งได้ระยะทางไม่ไกล นอกจากนี้ในสายเส้นหนึ่ง ๆ ยังส่งสัญญาณแบบนี้ได้เพียงชุดเดียวเท่านั้น
Broadband คือ การผสมสัญญาณข้อมูลที่จะส่งเข้ากับสัญญาณอนาล็อกหรือคลื่นพาหะที่มีความสูง เพื่อให้ส่งได้ไกลและมีความเพี้ยนน้อยกว่าแบบแรก นอกจากนี้ยังสามารถส่งได้หลายช่องทางสัญญาณหรือหลายแชนเนล โดยจัดการให้ข้อมูลชุดหนึ่งผสมกับสัญญาณที่ความถี่ช่วงหนึ่งนับเป็น 1 แชนเนล พอมีข้อมูลอีกชุดหนึ่งก็เลี่ยงไปใช้การผสมเข้ากับความถี่อื่น ๆที่ห่างออกไปมากพอที่จะไม่รบกวนกัน-สายที่ใช้ Ethernet แบบดังเดิมนั้นมีความเร็วเพียง 10 Mbps และมีการต่อสาย 3 แบบ ต่อมามีสายไฟเบอร์ออปติก เพิ่มขึ้นมาและสาย UTP ก็พัฒนาขึ้นจนทำความเร็วได้เป็น 1000 Mbps -Fast Ethernet และ Gigabit EthernetEhernet ในปัจจุบัน ได้รับการพัฒนาให้มีความเร็วเพิ่มจาก 10 Mbps เป็น 100 และ 1,000 Mbps หรือมากกกว่านี้ ซึ่งสามารถใช้กับข้อมูลขนาดใหญ่หรือภาพนิ่ง หรือข้อมูลที่ต้องรับส่งให้ได้ตามเวลาจริง-Token-Ringเป็นระบบ LAN ต่อในแบบ Ring และใช้การควบคุมแบบ Token-passing ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยบริษัทไอบีเอ็ม สายที่ใช้จะเป็นเคเบิลแบบพิเศษมี 2 คู่ ต่อเข้ากับ Hub ที่เรียกว่า MAU ซึ่ง 1 ตัวสามารถต่อได้ 8 เครื่อง และพ่วงระหว่าง MAU แต่ละตัวเข้าด้วยกันได้อีก เกิดเป็นลักษณะที่เห็นลกสายจาก MAU ไปยังแต่ละเครื่องเหมือนกับดาวกระจายหรือแบบ Star แต่ถ้าตรวจสอบสายจะเป็นแบบวงแหวน
-FDDI เป็นมาตรฐานการต่อระบบเครือข่ายโดยอาศัยสาย Fiber Optic ซึ่งสามารถรับส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงถึง 100 Mbps กับ Fast Ethernet พื้นฐานลักษณะของ FDDI จะต่อเป็น Ring ที่มีสายสองชั้นเดินคู่ขนานกัน เพื่อสำรองในกรณีเกิดสายขาดขึ้น
4.ระบบเครือข่ายแบบไร้สายWireless LANระบบเครือข่าแบบไร้สายคือเครือข่ายที่อาศัยคลื่นวิทยุในการรับส่งข้อมูล ซึ่งมีประโยชน์ที่เห็นได้ชัดคือ เรื่องของการไม่ต้องเดินสายเหมือนกับระบบ LAN แบบอื่น ๆ ซึ่งเหมาะกับการใช้งานในบ้านที่ซึ่งไม่สะดวกในการเดินสาย และเป็นที่ไม่มีปัญหาเรื่องการรบกวนของสัญญาณวิทยุมากนักการทำงานของ Wireless LANทำงานโดนใช้คลื่นวิทยุรับส่งกันระหว่างอุปกรณ์รับส่งสัญญาณที่ติดตั้งในคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง กับจุดเข้าใช้เรียกว่า “Access Point” ซึ่งเป็นตัวกลางในติดต่อถึงกัน ระหว่างอุปกรณ์รับส่งแต่ละเครื่องความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ LAN แบบไร้สายสิ่งที่ควรคำนึงถึงการใช้เครือข่ายแบบไร้สาย คือ ความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากข้อมูลลูกส่งไปในอากาศ ซึ่งสามารถถูกดักจับได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องมีวิธีการเข้ารหัสที่เรียกว่า WEP แต่ปัจจุบันกำลังถูกมองว่าวิธีนี้ยังไม่ปลอดภัยเท่าที่ควรจึงมีกรออกแบบมาตรฐานใหม่คือ WPA ซึ่งปลอดภัยกว่าแต่จะใช้ได้กับอุปกรณ์รุ่นใหม่ ๆ เท่านั้น อุปกรณ์ในติดตั้งระบบ Wi-Fi1.Access Point สามารถกำหนดค่า IP ในรูปแบบอัตโนมัติ หรือ Dynamic Host Configuration Protocol สามารถเชื่อมต่อกับ Network Switch หรือ HUB ได้โดยผ่านสาย LAN สามารถทำงานในลักษณะ Router ซึ่งทำให้ผู้คนหลายคน สามารถใช้งานระบบ Broadband ได้2.Wireless Adapter เป็นอุปกรณ์ซึ่งต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์และเครือข่ายไร้สาย โดยการทำงานของ Wireless Adapter จะเป็นลักษณะการส่งสัญญาณคลื่นวิทยุแบบ Two-way ทั้งรับทั้งส่งรูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายไร้สาย1.แบบ Peer-to-peerเป็นลักษณะการเชื่อมต่อแบบโครงข่ายโดยตรงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องหรือมากกว่านั้น เป็นการใช้งานร่วมกันของ Wireless Adapter cards โดยไม่มีการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายแบบใช้สายเลย โดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีความเท่าเทียมกัน สามารถทำงานได้และขอใช้บริการเครื่องอื่นได้
2.แบบ Client/Serverเป็นลักษณะการรับส่งข้อมูลโดยอาศัย Access Point หรือเรียกว่า “Hot spot”ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างระบบเครือข่ายแบบใช้สายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย โดยกระจายสัญญาณคลื่นวิทยุเพื่อรับ-ส่งข้อมูลเป็นรัศมี
3.แบบ Multiple access points and roamingเป็นการเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับ Access Point ของเครือข่ายไร้สาย จะอยู่ในรัศมีประมาณ 500 ฟุต ภายในอาคารและ 1,000 ฟุต ภายนอกอาคาร หากสถานที่ที่ติดตั้งมีขนาดกว้างมากๆ
4.แบบ Use of an Extension Pointกรณีที่โครงสร้างของสถานที่ติดตั้งเครือข่ายแบบไร้สายมีปัญหา ผู้ออกแบบระบบอาจจะใช้ Extension Point ที่มีคุณสมบัติเหมือนกับ Access Point แต่ไม่ต้องผูกติดไว้กับเครือข่ายไร้สายเป็นส่วนที่ใช้เพิ่มเติมในการรับส่งสัญญาณ5.แบบ The Use of Directional Antennasระบบแลนไร้สายแบบนี้เป็นแบบใช้เสาอากาศในการรับส่งสัญญาณระหว่างอาคารที่อยู่ห่างกัน โดยการติดตั้งเสาอากาศที่แต่ละอาคาร เพื่อส่งและรับสัญญาณระหว่าง
5.การทำงานของคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายการทำงานของคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย เครื่องที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายเรียกว่า”เซิร์ฟเวอร์”เป็นเครื่องที่ให้บริการแก่แก่เครื่องอื่น เครื่องลูกข่ายหรือเรียกว่า”ไคลเอนท์”หรือบางครั้งเรียกว่า “เวิร์กสเตชั่น” โดยทั่วทั่วไปการจัดแบ่งหน้าที่การทำงานของคอมพิเตอร์ระบบเครือข่ายไว้ 2แบบใหญ่ คือแบบที่ทุกเครื่องมีศักดิ์ศรีเท่ากันเรียกว่า Peer-to-Peer หมายถึงแต่ละเครื่องจะยอมให้เครื่องอื่น ๆ ในระบบเข้ามาใช้ข้อมูล หรืออุปกรณ์ต่าง ๆได้ โดยเสมอภาคภาคกันแบบที่เรียกว่า”Server-based” หรือ “Dedicated Server” 1.อุปกรณ์ Repeater ใช้เมื่อสายที่มีต่อมีความยาวเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนด ไม่สามารถรับสัญญาณได้จึงต้องเพิ่มอุปกรณ์ที่เรียกว่า “รีพีตเตอร์” เพื่อทำหน้าที่ทวนสัญญาณ ช่วยขยายสัญญาณไฟฟ้าที่ส่งบนสายแลนให้ไกลขึ้น แต่มีข้อเสียคือไม่สามารถกลั่นกรองข้อมูลที่ส่งผ่านได้ ซึ่งเหมือนกับ Hub ที่ใช้กันในระบบ LAN2.อุปกรณ์ Bridge ทำหน้าที่เป็นสะพานข้อมูลที่ส่งข้อมูลที่ส่งออกมาในเครือหนึ่งมีปลายทางอยู่ สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายย่อย ๆ ในองค์กรเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายใหญ่เพียงเครือข่าย โดยข้อมูลที่ส่งออกมาในเครือข่ายหนึ่งมีปลายทางอยู่อีกเครือข่ายหนึ่ง บริดจ์จะส่งข้อมูลข้ามไปให้สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายใหญ่เพียงเครือข่ายเดียว เพื่อให้เครือข่ายย่อยเหล่านั้น3.อุปกรณ์ Switch ทำหน้าที่รวบรวมสัญญาณหรือ เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานในลักษณะบริดจ์ แบ่งสาย 1 เส้น หรือ 1 พอร์ต เป็น 1 เครือข่าย ข้อมูลใด ๆ ที่ถูกส่งเข้ามาทางพอร์ต จะถูกต้องส่งต่อออกไปเฉพาะพอร์ตที่ต่อกับผู้รับเท่านั้น4.อุปกรณ์ Router ทำงานเสมือนเป็นเครื่องหรือ Node หนึ่งในระบบ หนึ่งในระบบ LAN รับข้อมูลเข้ามาแล้วส่งต่อยังปลายทาง คล้ายกับ Switch และ Bridge ทำหน้าที่หลักคือ หาเส้นทางที่ดีสุดในการส่งข้อมูลต่อไปยังเครือข่ายอื่น

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

บทที่4

บทที่ 4 การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานธุรกิจ
บทนำ
ศึกษาเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานธุรกิจ ความหมายของอีคอมเมิร์ซ(E-Commerce)
ความเป็นมาของอีคอมเมิร์ซ ประโยชน์ของอีกคอมเมิร์ซ ข้อจำกัดขอกอีคอมเมิร์ซโครงสร้างพื้นฐานของอีคอมเมิร์ซ ประเภทของอีกคอมเมิร์ซ ขั้นตอนการค้าแบบอีคอมเมิร์ซ
1.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานธุรกิจ
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับระบบงานในองค์กรและงานด้านบริหารในโลกยุคใหม่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง ทำให้การค้าและการดำเนินธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงองค์การต่าง ๆ เริ่มพยายามเปลี่ยนแปลงให้ก้าวทันสู่ยุของการค้ารูปแบบใหม่ โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อเพิ่มช่องทางการค้าขายการตลาดและการบริการไปสู่กลุ่มลูกค้าทั้งเก่าและใหม่เป็นการสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า คำว่า “อีคอมเมิร์ซ”(E-commerce/Electronics Commerce ) จัดเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้องค์กร ได้เปรียบคู่แข่งขัน
2.ความหมายของอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce)
อีคอมเมิร์ซ หรือชื่อแปลเป็นไทยว่า “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” หมายถึงการดำเนินธุรกิจซื้อขายโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นส่าวนหนึ่งของ E-Business อ่านว่า อี-บิสิเน็ส หมายถึง การทำกิจกรรมทุก ๆ อย่างทุกขั้นตอนผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีขอบเขตที่กว้างกว่าอีคอมเมิร์ซที่เป็นการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมเป็นโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้สามารถติต่อสื่อสารกับลูกค้า
อีคอมเมิร์ซ เป้ฯเรื่องที่ละเอียดอ่อน การตัดสินใจลงทุนในธุรกิจประเภทนี้ จะต้องวางแผนให้รัดกุม ถึงแม้จะใช้เงินลงทุนในระยะแรกไม่สูงและไม่ต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์มากนักก็สามารถทำธุรกิจประเภทนี้ได้ แต่ปัจจุบันมีคู่แข่งขันเข้ามาในธุรกิจมาก เพราะนักลงทุนสามารถเปิดธุรกิจได้ง่ายและกำลังอยู่ในความสนใจของคนรุ่นใหม่ แต่ถ้าคิดจะลงทุนค้าขายสินค้าให้คนไทยอาจจะต้องพบปัญหา
2.ความเป็นมาสของอีคอมเมิร์ซ
ปัจจุบันยังคงมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างบริษัทด้วยการใช้ระบบไปรษณีย์ และอีกหลายบริษัทใช้วิธีการป้อนข้อมูลลงในโปรแกรมแบบฟอร์มทางธุรกิจ ไม่ว่าเป็นใบสั่งซื้อ ใบส่งสินค้าใบเสร็จรับเงินและจัดพิมพ์ข้อมูลออกทางเครื่องพิมพ์จึงจัดส่งแบบฟอร์มนั้นหรือใช้วิธีส่งแฟกซ์ทำให้บริษัทต้องสูญเสียเวลาอย่างมากมายในการใช้ระบบแบบเดิม ในการติดต่อเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล และสูญเสียทรัพยากรกระดาษจำนวนมากด้วย และที่สำคัญไปกว่านั้นคือ อาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการส่งผ่านข้อมูล
ต่อมายุคการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) จึงได้มีแนวคิดที่จะให้คอมพิวเตอร์ข่ายการค้าทั้ง 2 ฝ่ายแลกเปลี่ยนเอกสารกันทางอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยตรง คือ คอมพิวเตอร์ของผ่ายหนึ่งจัดส่งเอกสารต่าง ๆ ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยผ่านระบบเครือข่ายหรือเน็ตเวิร์กแบบที่จัดสร้างขึ้นโดยเฉพาะ หรือส่งผ่านสายโทรศัพท์ซึ่งช่วยเพิ่มความเร็วในการทำงานได้มาก แต่ปัญหาที่ตามมาคือ ไม่มีเอกสารที่อยู่บนกระดาษเป็นหลักฐานให้เซ็นชื่อกำกับเหมือนก่อน
วิธีแก้ไขปัญหาคือ ปัญหาแรกอาจต้องมีการเข้ารหัสพิเศษก่อนจะส่งข้อมูล เพื่อยืนยันไว้ผู้ที่เข้ารหัสมาก็คือฝ่ายที่เป็นคู่ค้าไม่ใช่บุคคลอื่น ส่วนปัญหาข้อสองที่โปรแกรมไม่สามาถใช้งานในรูปแบบเดียวกันได้นั้น มีการวางมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันให้เป็นระบบที่เรียกว่า ระบบ EDI
แต่การนำระบบ EDI มาใช้ยังได้รับความนิยมน้อย เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการวางระบบ และดำเนินงานสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการที่จะให้คอมพิวเตอร์ของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สารมารถรับส่งข้อมูลกันได้อย่างราบรื่นยิ่งมีฝ่ายที่เกี่ยวข้องมากขึ้นเท่าไรความยิ่งยากซับซ้อน ที่ตามมาก็มากขึ้น
ปัจจุบันระบบอินเทอร์เน็ตเป็นที่นิยมแพร่หลาย แนวคิดในเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อการค้าระหว่างคอมพิวเตอร์นของแต่ละธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรงนั้นก็เกิดขึ้น โดยแทนที่ระบบ EDI ซึ่งเป็นระบบของธุรกิจขนาดใหญ่ แต่กลายเป็นระบบการซื้อขายในระดับของผู้บริโภคทั่ว ๆ ไปโดยตรง
การค้าทางอิเล็กทรอนิกส์บนอินเทอร์เน็ตสามารถทำได้ง่ายกว่า เพราะการเปลี่ยนแปลงทางด้านซอฟต์แวร์ที่ใช้งาน โปรแกรมสำหรับเรียกดูข้อมูล เช่น โปรแกรม Internet Explorer สารมารถทำงานได้ค่อนข้างหลากหลายและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการรับส่งอีเมล์เป็นพื้นฐานการใช้อินเทอร์เน็ต กลายเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคสามารถหามาใช้และทำความเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น
4.ประโยชน์ของอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce)
ประโยชน์ของอีคอมเมิร์ซต่อบุคคล มีดังนี้
1.มีสินค้าและบริการราคาถูกจำหน่าย
2.สามารถทำธุรกรรมได้ตลอด 24 ชั่วโมง
3.ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกสินค้าตรงตามความต้องการมากที่สุด
4.สนับสนุนการประมูลเสมือนจริง
ประโยชน์ของอีคอมเมิร์ซต่อองค์กรธุรกิจ มีดังนี้
1.ขยายตลาดในระดับประเทศและระดับโลก
2.ลดปริมาณเอกสารเกี่ยวกับการสร้าง การประมวล การกระจาย การเก็บและการดังข้อมูลได้ถึงร้อยละ 90
3.ลดต้นทุนการสื่อสารโทรคมนาคม เพราะอินเทอร์เน็ตราคาถูกกว่าโทรศัพท์
4.ทำให้การจัดการผลิตมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ประโยชน์ของอีคอมเมิร์ซต่อสังคม มีดังนี้
1.สามารถทำงานที่บ้านได้ ทำให้มีการเดินทางน้อยลง การจราจรไม่ติดขัด ลดปัญหามลพิษทางอากาศ
2.การซื้อขายสินค้าราคาถูกลง คนที่มีฐานะไม่รวยก็สามารถยกระดับมาตรฐานการขายสินค้าและบริการได้
ประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ มีดังนี้
1.กิจการ SMEs ในประเทศกำลังพัฒนาอาจได้ประโยชน์จากการเข้าถึงตลาดที่กว้างขวางในระดับโลก
2.บทบาทของพ่อค้าคนกลางลดลง ทำให้ต้นทุนการซื้อขายลดลง อุปสรรคการเข้าสู่ตลาดลดลง
3.ทำให้ประชาชนในชนบทได้หาสินค้าหรือบริการได้เช่นเดียวกับในเมือง
4.เพิ่มความเข้มข้นของการแข่งขัน ทำให้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค
5.ข้อจำกัดของอีคอมเมิร์ซ

ข้อจำกัดของอีคอมเมิร์ซด้านเทคนิค มีดังนี้
1.ขาดมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับในด้านคุณภาพ ความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ
2.ความกว้างของช่องทางการสื่อสารมีจำกัด
3.ปัญหาความเข้ากันได้ระหว่างอินเทอร์เน็ตและซอฟต์แวร์ของอีคอมเมิร์ซกับแอพพลิเคชั่น
4.ต้องการ Web Server และ Network Server ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ
ข้อจำกัดของอีคอมเมิร์ซด้านกฎหมาย มีดังนี้
1.กฎหมายที่สามารถคุ้มครองการทำธุรกรรมข้ามรัฐหรือข้ามประเทศ ไม่มีมาตรฐานที่ควเหมือนกัน และมีลักษณะที่แตกต่าง
2.ความพร้อมของภูมิภาคต่าง ๆ ในการปรับโครงสร้างเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของ E-commerce มีไม่เท่ากัน
3.ภาษีและค่าธรรมเนียมจาก E-Commerce จัดเก็บได้ยาก ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครอง
4.ต้นทุนในการสร้าง E-Commerce ครบวงจรค่อนข้างสูง เพราะรวมถึงค่า Hardware ,Software ที่มีประสิทธิภาพ
ข้อขำกัดของอีคอมเมิร์ซด้านอื่น ๆ มีดังนี้
1.การให้ข้อมูลที่เป็นเท็จบนอินเทอร์เน็ต มีมากและการขยายตัวเร็วมากกว่าการพัฒนาขออินเทอร์เน็ต
2.สิทธิส่วนบุคคล (Privacy) ระบบการจ่ายเงินหรือการ
3.ยังไม่มีการประเมินผลการดำเนินงาน หรือวิธีการที่ดีของ E-Commerce ยังมีจำกัดโดยเฉพาะในประเทศไทย ซึ่งลัดส่วนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต่อประชากรต่ำมาก และการใช้ E-Commerce ในการซื้อ/ขายสินค้ามีน้อยมาก
4.จำนวนผู้ซื้อ/ขายที่ได้กำไรหรือประโยชน์จากE-Commerceยังมีข้อจำกัดในประเทศไทย
6.โครงสร้างพื้นฐานของอีคอมเมิร์ซ
1.การบริการทั่วไป เป็นบริการที่ช่วยอำนวยความสะดวกรวดเร็วให้กับลูกค้า และสมาชิกและบริการที่สั่งซื้อสินค้าและบริการ เพื่อช่วยสร้างความไว้ใจให้กับลูกค้า
2.ช่วงทางการติดต่อสื่อสาร เป็นช่วงทางการติดต่อสื่อสาร เพื่อใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ใช้บริการผ่านทางโครงข่ายโทรคมนาคม3.รูปแบบของเนื้อหา เป็นการจัดรูปแบบของเนื้อหาเพื่อการนำเสนอสินค้าหรือบริการในรูปแบบสื่อประสม ซึ่งผสมผสานระหว่าง ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงเข้าด้วยกันส่งผ่านทาง Web Site บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไปยังผู้ใช้บริการได้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ 4.ระบบเครือข่าย เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่2เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกัน
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้
5.ส่วนประสานกับผู้ใช้ เป็นส่วนที่ใช้ในการติดต่อระหว่างผู้ใช้บริการผ่านโปรแกรม Web Browser7.ประเภทของอีคอมเมิร์ซอีคอมเมิร์ซ แบบได้เป็น6กลุ่มดังนี้
1.แบบธุรกิจกับธุรกิจ
เป็นการทำธุรกรรมการค้าระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการหรือผู้ดำเนินธรุกิจด้วยกันเพื่อให้สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้
2.แบบธุรกิจกับผู้บริโภคเป็นรูปแบบของการทำธุรกรรมทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภคโดยตรง โดยใช้รูปแบบการดำเนินงานและเทคโนโลยีที่ช่วยสนับสนุน เพื่อให้ลูกค้าเข้ามาเลือกซื้อ
3.แบบผู้บริโภคกับผู้บริโภคเป็นรูปแบบของการทำธุรกรรมทางการค้าระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคโดยตรง โดยใช้รูปแบบการดำเนินงานและเทคโนโลยีเป็นสื่อการในการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน
4.แบบผู้บริโภคกับธุรกิจเป็นรูปแบบของการทำธุรกรรมทางการค้าระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการโดยผู้บริโภคได้จัดตั้งเป็นกลุ่มสมาชิกหรือสหกรณ์ ดำเนินการกับผู้ประกอบการในนามของกลุ่มสมาชิกหรือสหกรณ์ที่ใช้สื่ออินเตอร์เน็ต
5.แบบธุรกิจกับรัฐบาลเป็นรูปแบบการจำหน่ายสินค้าและบริการโดยตรงจากผู้ค้ากับรัฐบาล ซึ่งรูปแบบที่ใช้ในเมืองไทยคือ การประมูลขายสินค้าให้กับภาครัฐ และรูปแบบการให้บริการออนไลน์ของการเสียภาษีออนไลน์
6.แบบโมบายคอมเมิร์ซเป็นรูปแบบการค้าระบบไร้สาย เช่น บริการดาว์นโหลดริงโทนผ่านโทรศัพท์มือถือ
8.ขั้นตอนการค้าแบบอีคอมเมิร์ซ
1. แนะนำสินค้า/บริการด้วยการออกแบบและจัดทำเว็บไซต์ โดยจัดทำขึ้นเองหรือใช้บริการจากบริษัทที่รับออกแบบและจัดทำเว็บไซต์ ผู้ขายต้องแนะนำตัวสินค้า เมื่อผู้ขายจะขายสินค้าหรือบริการใดๆ ก็ตาม ตามแต่ผู้ขายจะนำเสนอลงไปในตัวสินค้าเพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้ซื้อ
2.สั่งซื้อสินค้าและบริการ เมื่อผู้ซื้อสินค้าบริการที่ต้องการก็จะดูรายละเอียดปลีกย่อยที่เกี่ยวข้องว่าสินค้าหรือบริการเป็นอย่างไร ชำระค่าสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใดบ้าง ก็ทำการเลือกสินค้าหรือบริการลงไปในรายการหรือตะกร้าสินค้าที่ต้องการสั่งซื้อและส่งข้อมูลกลับไปให้ผู้ขาย
3.การชำระค่าสินค้าหรือบริการทางอินเตอร์เน็ต เมื่อรายการสินค้าหรือบริการถูกส่งไป การชำระค่าสินค้าก็จะเป็นไปตามทางเลือกของระบบอีคอมเมิร์ซที่ผู้ขายได้จัดทำไว้
4.การจัดส่งสินค้าหรือบริการหลังจากที่มีการตกลงวิธีรการชำระค่าสินค้า หรือบริการและวิธีการจัดส่งแล้ว ผู้ขายก็จะเป็นผู้จัดส่งสินค้าหรือบริการด้วยวิธีตกลงกันไว้เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำการค้าในระบบอีคอมเมิร์ซ