วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553

แบบฝึกหัดที่ 1 week 1 21/10/53

1. ลีนุกซ์คืออะไร
ตอบ ลีนุกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการเช่นเดียวกับ ดอส ไมโครซอฟต์วินโดวส์ หรือยูนิกซ์ โดยลีนุกซ์นั้นจัดว่าเป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ประเภทหนึ่ง การที่ลีนุกซ์เป็นที่กล่าวขานกันมากขณะนี้ เนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของ GNU (GNU's Not UNIX) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทฟรีแวร์ (Free Ware) คือไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อโปรแกรม
ระบบลีนุกซ์ตั้งแต่เวอร์ชั่น 4 นั้น สามารถทำงานได้บนซีพียูทั้ง 3 ตระกูล คือบนซีพียูของอิลเทล (PC Intel) ดิจิตอลอัลฟาคอมพิวเตอร์ (Digital Alpha Computer) และซันสปาร์ค (SUN SPARC) เนื่องจากใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า RPM (Red Hat Package Management) ถึงแม้ว่าในขณะนี้ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ไมโครซอฟต์ วินโดวส์ บนพีซีหรือแมคโอเอส (Mac OS) ได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ผู้ใช้จำนวนไม่น้อยที่หันมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กัน และเรื่องของการดูแลระบบลีนุกซ์นั้น ภายในระบบลีนุกซ์เองมีเครื่องมือช่วยสำหรับดำเนินการให้สะดวกยิ่งขึ้น
2. ความเป็นมาของลีนุกซ์เป็นอย่างไร
ตอบ ในช่วงปี ค.ศ. 1987 ศาสตราจารย์ Andrew S.Tanenbaum ได้ออกแบบสร้าง ยูนิกซ์สำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถทำงานได้ทั้งบนเครื่อง PC,Mac,Amiga โดยให้ชื่อว่า Minix และยังแจกซอร์สโค้ดฟรีให้แก่นักวิจัยเพื่อนำไปพัฒนาต่อ
ประมาณปี ค.ศ. 1989 นักศึกษาภาควิชา Computer Science จากมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ (University of Helsinki) ประเทศ ฟินแลนด์ชื่อ ลีนุส ทอร์วัลดล์ (Linus Benedict Torvalds :http://www.cs.helsinki.fi/~torvalds) ได้พัฒนาระบบยูนิกซ์ Minix เพื่อใช้ในการเรียนวิชาระบบปฏิบัติการ เนื่องจากเห็นว่า Minix ยังมีความสามารถไม่พอ จึงออกแบบเขียนโค้ดขี้นใหม่และอ้างอิงกับ Minix โดยมีการใส่ระบบสลับงาน (Task swap) ปรับปรุงไฟล์ มีการสนับสนุน Hardware มากขึ้น แล้วให้ชื่อระบบปฏิบัติการตัวนี้ว่า Linux
และต่อมาก็ได้เริ่มชักชวนให้โปรแกรมเมอร์คนอื่นๆ มาช่วยกันพัฒนาต่อโดยผ่านทางอินเตอร์เน็ต คือ ลีนุสจะเป็นคนรวบรวม ตรวจสอบ และแจกจ่ายงานให้กับโปรแกรมเมอร์จากที่ต่างๆทั่วโลก รวมทั้งแจกจ่ายให้ใครต่อใครที่สนใจช่วยทดลองใช้ และทดสอบหาข้อผิดพลาดด้วย
จุดที่น่าสนใจของงานนี้ก็คือ ทุกคนต่างทำงานให้ฟรี ด้วยความอยากเห็นผลงานสำเร็จออกมา โดยไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนให้แต่อย่างใด เพียงแต่มีเงื่อนไขว่างานที่เสร็จแล้ว ก็จะต้องเผยแพร่แก่สาธารณะ โดยไม่คิดค่าตอบแทนเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่า GPL (General Public License) ที่ริเริ่มขึ้นจากองค์กรที่เรียกว่า Free
3. ประโยชน์ของลีนุกซ์มีอะไรบ้าง
ตอบ ปัจจุบันลีนุกซ์ได้รับความนิยมและนำไปใช้งานเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงาน ประโยชน์มีมากมาย
1.ยูนิกซ์เป็นต้นแบบของลีนุกซ์
ยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการเดิมที่มีประสิทธิภาพการทำงานมานาน ลีนุกซ์ถอดแบบมาจากยูนิกซ์ ดังนั้นคุณสมบัติของยูนิกซ์ทั้งเรื่องระบบความปลอดภัย ความสามารถในการทำงานพร้อมกันหลายงาน (MultiTasking) ใช้งานได้พร้อมกันหลายคน (MultiUser) ประสิทธิภาพในการใช้งานเป็นเซิร์ฟเวอร์ รวมทั้งคุณสมบัติอื่น ๆ มีมากมาย จึงเป็นการถ่ายทอดมาที่ลีนุกซ์
2.ลีนุกซ์และโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานบนลีนุกซ์จะอยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ที่เรียกว่า GNU Public License (GPL) ซึ่งหมายความว่า สามารถนำลีนุกซ์มาใช้งานได้ฟรี โดยใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ปรับปรุงแก้ไขได้ตามต้องการ โดยซอร์สโค้ดที่ได้ทำการแก้ไขจะต้องเผยแพร่ให้ผู้อื่นใช้ได้ฟรีเหมือนต้นแบบ
3.ความปลอดภัยในการทำงาน
ลีนุกซ์เป็นระบบที่มีความปลอดภัยในการใช้งานสูง ก่อนที่จะเข้าใช้งานทุกครั้งจะมีการตรวจสอบโดยผู้ใช้ต้องทำการป้อนชื่อและรหัสผ่าน เพื่อแสดงสิทธิในการใช้งาน หรือที่เรียกว่า Log in ให้ถูกต้องจึงจะเข้าใช้งานลีนุกซ์ได้ ฯลฯ
4.โครงสร้างของลีนุกซ์มีอะไรบ้าง
ตอบ ลีนุกซ์ที่ไลนัสและนักพัฒนาร่วมกันพัฒนา เป็นเพียงแค่ส่วนที่เรียกว่า เคอร์เนล (Kernel) หรือ
แกนการทำงานหลักของระบบ แต่เคอร์เนลไม่สามารถทำงานตามลำพังได้ต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่น ๆ เช่น 1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware)คือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ประกอบด้วยจอภาพ คีย์บอร์ด ซีพียู แรม ฮาร์ดดิสก์ และอุปกรณ์เสริมอื่นๆ
เคอร์เนล (Kernel)
เป็นส่วนที่สำคัญของระบบ เรียกว่า เป็นแกนหรือหัวใจของระบบก็ว่าได้ เคอร์เนลจะมีหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของระบบ ตั้งแต่การจัดสรรทรัพยากรของระบบบริหารโพรเซสงาน
(Process) การจัดการไฟล์และอุปกรณ์อินพุต เอาต์พุต บริหารหน่วยความจำ โดยเคอร์เนลจะควบคุมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ของเครื่องทั้งหมด ดังนั้นเคอร์เนลจึงขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์ ถ้าฮาร์ดแวร์เปลี่ยนไปเคอร์เนลก็จะเปลี่ยนไปด้วย
เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างผู้ใช้กับเคอร์เนล โดยรับคำสั่งจากผู้ใช้ทางอุปกรณ์อินพุต อย่างเช่น คีย์บอร์ด แล้วทำการแปลให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ นอกจากนี้เซลล์ยังทำหน้าที่ในการควบคุมและกำหนดทิศทางของอินพุตและเอาต์พุตได้ด้วยว่าจะให้เข้าหรือออกมาทางใด เช่น อาจจะกำหนดให้เอาต์พุตออกมาทางหน้าจอหรืจะเก็บลงไฟล์ก็ได้ลีนุกซ์ เคอร์เนลเชลล์โปรแกรมประยุกต์ฮาร์ดแวร์ ฯลฯ
5.เคอร์เนล (Kernel) คืออะไร
ตอบ เป็นส่วนที่สำคัญของระบบ เรียกว่า เป็นแกนหรือหัวใจของระบบก็ว่าได้ เคอร์เนลจะมีหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของระบบ ตั้งแต่การจัดสรรทรัพยากรของระบบบริหารโพรเซสงาน
(Process) การจัดการไฟล์และอุปกรณ์อินพุต เอาต์พุต บริหารหน่วยความจำ โดยเคอร์เนลจะควบคุมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ของเครื่องทั้งหมด ดังนั้นเคอร์เนลจึงขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์ ถ้าฮาร์ดแวร์เปลี่ยนไปเคอร์เนลก็จะเปลี่ยนไปด้วย
6.เซลล์ (Shell) คืออะไร
ตอบ เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างผู้ใช้กับเคอร์เนล โดยรับคำสั่งจากผู้ใช้ทางอุปกรณ์อินพุต อย่างเช่น คีย์บอร์ด แล้วทำการแปลให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ นอกจากนี้เซลล์ยังทำหน้าที่ในการควบคุมและกำหนดทิศทางของอินพุตและเอาต์พุตได้ด้วยว่าจะให้เข้าหรือออกมาทางใด เช่น อาจจะกำหนดให้เอาต์พุตออกมาทางหน้าจอหรืจะเก็บลงไฟล์ก็ได้
7.ระบบวินโดวส์ (Window) บนลีนุกซ์มีอะไรบ้าง (ค้นหาเพิ่มเติมให้มากที่สุด)
ตอบ เป็นระบบปฏิบัติการที่ฟรีและยังมีให้เลือกใช้มากมายหลากหลายเวอร์ชั่นอีกด้วย
8.ระบบ X Window คืออะไร ทำหน้าที่อย่างไร
ตอบ ระบบ X Window บนลีนุกซ์ มีความพิเศษกว่า Microsoft Windows ตรงที่มีรูปแบบของวินโดวส์ให้เลือกใช้หลายแบบ เช่น GNOME หรือ KDE โดยแต่ละรูปแบบอาจจะแตกต่างกันในส่วนของเมนูการทำงาน รูปแบบของหน้าจอ หน้าต่างของโปรแกรม รูปแบบของปุ่ม หรือไอคอนต่าง ๆ ซึ่งไม่เหมือนกับ Microsoft Windows ที่มีหน้าตาอยู่เพียงแบบเดียว ตัวอย่างโปรแกรมลีนุกซ์แต่ละแบบเช่น ลีนุกซ์ทะเล ลีนุกซ์อูบุนตู ลีนุกซ์ Redhat ลีนุกซ์ Cent OS และอื่น ๆ
9.ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมของลีนุกซ์ต้องเตรียมอะไรบ้าง
ตอบ ตรวสสอบเครื่องคอมพิวเตอร์ว่ามีอุปกรณ์ฮาดร์แวร์ครบไหม นอกจากนี้ยังต้องการติดตั้งลีนุกซ์ สิ่งสำคัญคือรายละเอียดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ เตรียมพื้นที่สำหรับติดตั้ง เลือกประเภทของการติดตั้ง และวิธีการติดตั้ง ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมมีดังนี้
ตรวจสอบข้อมูลฮาร์ดแวร์ของระบบ ในขั้นตอนของการติดตั้งโปรแกรมจะให้กำหนดรายละเอียดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ โดย
จะต้องกำนดค่าให้ถูกต้องตรงกับข้อมูลจริง เพื่อให้ลีนุกซ์ทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงสุด รายการของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่จะต้องตรวจสอบรวมทั้งข้อมูลที่ควรเก็บรายละเอียดการเรียกชื่อฮาร์ดดิสก์ตามแบบของลีนุกซ์ แสดงได้ดังนี้
1. /dev/hda หมายถึง ฮาร์ดดิสก์ที่เชื่อมต่อแบบ IDE ที่ช่อง Primary ตั้งค่าเป็น Master
2. /dev/hdb หมายถึงฮาร์ดดิสก์ที่เชื่อมต่อแบบ IDE ที่ช่อง Primary ตั้งค่าเป็น Slave
3. /dev/hdc หมายถึง ฮาร์ดดิสก์ที่เชื่อมต่อแบบ IDE ที่ช่อง Secondary ตั้งค่าเป็น Master
4. /dev/hdd หมายถึง ฮาร์ดดิสก์ที่เชื่อมต่อแบบ IDE ที่ช่อง Secondary ตั้งค่าเป็น Slave
10.ลีนุกซ์แบบ Text Mode เป็นอย่างไร มีรุ่นใดบ้าง
ตอบ เป็นระบบปฎิบัติการที่ไม่กินสเปกเครื่องมากนัก นอกจากนี้ยังมีการทำงานต่างๆที่คล้ายกับคำสั่งของระบบ ปฎิบัติการ MS-Dos แต่คำสั่งของ นุกซ์แบบ Text Mode นั้น จะมีคำสั่งที่เฉพราะตัวยกตัวอย่าง
คำสั่ง ls : ใช้แสดงรายชื่อแฟ้มทั้งหมดใน home directory

ขั้นตอนการติดตั้ง Linux Fedora Core 5 Week 1 21/10/2553

ขั้นตอนการติดตั้ง Linux Fedora Core 5



หลังจากบูตเครื่องพีซีด้วยแผ่นซีดีรอมชุดติดตั้ง จะปรากฏหน้าจอแรกโปรแกรมติดตั้งจะรอคอยคำสั่งจากการพิมพ์ของผู้ติดตั้ง เรียกว่า บูตพร้อมพ์ ( Boot Prompt )ซึ่งผู้ติดตั้งสามารถกำหนดทางเลือก ( Options ) การทำงานของโปรแกรมติดตั้งนี้ได้หลายรูปแบบตามความต้องการ ตัวอย่างของคำสั่งกำหนดทางเลือกได้แก่
• boot: linux textboot:
• linux rescueboot:
• linux askmethodboot:
• linux ks=floppy
ข้อความที่จะพิมพ์สั่งงานได้นั้นอาจดูได้โดยการกดปุ่ม F2หากผู้ติดตั้งรอสักครู่หรือกด Enter จะเป็นการเข้าสู่การติดตั้งแบบกราฟฟิกต่อไป



โปรแกรมติดตั้งจะสอบถามว่าต้องการตรวจสอบแผ่นซีดีรอมชุดติดตั้งนี้หรือไม่




หากผู้ติดตั้งตอบ Yes จะเข้าสู่การตรวจสอบแผ่นซีดีรอมทีละแผ่นและรายงานผลให้ทราบ




ขั้นตอนการตรวจสอบแผ่นซีดีรอมมาแล้วจะเป็นหน้าจอแสดงสัญลักษณ์และ Release Notes




เลือกภาษาที่ต้องการใช้ระหว่างการติดตั้ง




เลือกภาษาของแป้นพิมพ์




เลือกที่จะติดตั้งทับลีนุกซ์เดิมที่มีอยู่ในฮาร์ดดิสก์จะต้องเลือกรูปแบบ (Layout) อย่างใดอย่างหนึ่งหากเลือกใช้ Free space และ default layout จะเป็นการติดตั้งโดยใช้รูปแบบตามที่ Fedora กำหนดให้ โดยจะใช้ระบบจัดการระบบไฟล์แบบ LVM และจะใช้เนื้อที่ดิสก์ทั้งหมดที่เหลืออยู่
การที่ Fedora ออกแบบให้มี Default Layout เช่นนี้เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานที่ยังไม่เคยใช้ลีนุกซ์มาก่อน หลังจากกำหนด Layout หรือรูปแบบการแบ่งพาร์ทิชั่นดิสก์แล้ว
หากผู้ติดตั้งมีความประสงค์จะกำหนดคุณสมบัติให้ตรงกับความต้องการมากขึ้นจะต้องเลือกตัวเลือก Custom Layout ในขั้นตอนนี้



ขั้นตอนต่อมาคือการกำหนดค่าเกี่ยวกับอุปกรณ์เครือข่าย (Network Devices)



กำหนดค่า Time Zone เป็น Asia/Bangkok ส่วนตัวเลือก System clock uses UTC จะใช้ในกรณีที่เป็นเครื่อง Portable หรือ Notebook ที่กำหนดวันเวลาภายในฮาร์ดแวร์ (RTC/BIOS) เป็นเวลามาตรฐานโลก (UTC หรือ GMT) แล้วอาศัยการปรับเวลาในระบบปฏิบัติการตามเวลาท้องถิ่น ( Local Date/Time ) ได้ตามสภาพความเป็นจริง



กำหนดรหัสผ่านของผู้ควบคุมระบบ ( root ) โดยยืนยันให้ตรงกันทั้ง 2 ครั้ง รหัสผ่านของ root นี้ควรกำหนดให้มีความซับซ้อน ยากต่อการสุ่มเดา แต่ง่ายต่อการจำโดยควรมีความยาวไม่น้อยกว่า 8 ตัวอักขระ ประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์ ที่สำคัญคือ จะต้องวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะใช้คำว่าอะไรเป็นรหัสผ่าน ห้ามใช้รหัสง่ายๆ อย่างชั่วคราวเด็ดขาด



เลือกชุดของซอฟต์แวร์ ( Package Selection )Fedora จะมีตัวเลือกอย่างกว้างๆ ให้ง่ายต่อการติดตั้งคือ Office สำหรับงานเดสทอป Software Development สำหรับงานพัฒนาซอฟต์แวร์ และ Web Server สำหรับงานระบบเครือข่าย แต่อันที่จริงแล้วควรเลือกแพคเกจทีละชุดด้วยตนเองเพื่อให้มีซอฟต์แวร์ครบถ้วนเพียงพอต่อการใช้งานและไม่สิ้นเปลืองเนื้อที่ดิสก์โดยไม่เกิดประโยชน์ (โปรดอ่านการเลือกซอฟต์แวร์แพคเกจ)



ก่อนที่จะเริ่มการติดตั้งจริง โปรแกรมติดตั้งจะรอให้ผู้ติดตั้งยืนยันที่ขั้นตอนนี้ หมายความว่า หากคลิ๊ก Back จะยังสามารถแก้ไขสิ่งต่างๆ ได้ทั้งหมด โดยที่ยังไม่มีผลกระทบใดๆ เกิดขึ้นแต่ถ้าคลิ๊กที่ Next โปรแกรมติดตั้งจะเริ่มจัดการกับฮาร์ดดิสก์และเริ่มติดตั้งโปรแกรมซึ่งจะไม่สามารถขัดขวางการทำงานเหล่านั้นได้




โปรแกรมติดตั้งจะสอบถามว่าต้องการตรวจสอบแผ่นซีดีรอมชุดติดตั้งนี้หรือไม่




หากคลิ๊ก Next ขั้นตอนต่อมาคือการเริ่มจัดการกับฮาร์ดดิสก์โดยแบ่งพาร์ทิชั่น ฟอร์แมต และสำเนาไฟล์ต่างๆ จากซีดีรอมลงสู่ฮาร์ดดิสก์ แล้วร้องขอให้เปลี่ยนแผ่นซีดีรอมถัดไปทีละแผ่นจนกระทั่งครบตามที่ได้เลือกแพคเกจไว้ขั้นตอนนี้อาจใช้เวลานานมากขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์และจำนวนแพคเกจที่เลือกติดตั้ง




เมื่อสิ้นสุดการติดตั้งโปรแกรมจะแสดงข้อความให้นำแผ่นซีดีรอมหรือแผ่นดิสก์อื่นๆ ออกไป แล้วบูตเครื่องโดยคลิ๊กปุ่ม Reboot

การเซ็ตอัพภายหลังจากติดตั้งสำเร็จแล้ว



จากขั้นตอนการติดตั้ง จะเห็นว่า Fedora ได้ลดจำนวนข้อคำถามต่างๆ ที่ผู้ติดตั้งจะต้องตอบลงเพื่อให้การติดตั้งดำเนินไปอย่างรวดเร็วและเรียบง่ายที่สุด แต่อย่างไรก็ตามหลังจากการติดตั้งสำเร็จลงและทำการบูตเข้าสู่ระบบเป็นครั้งแรก ( First Boot ) โปรแกรมชื่อ First Boot จะพยายามนำเข้าสู่การแสดงผลแบบกราฟฟิกหรือ X Window System และจะเข้าสู่การตั้งค่าบางอย่างที่จำเป็นต่อระบบ ดังนี้




กำหนดการทำงานของ Firewall เป็นการเปิดให้บริการงานด้านเครือข่ายเฉพาะงานที่กำหนดเท่านั้น




หากผู้ใช้งานยังไม่คุ้นเคยกับการใช้งาน Firewall ของ Fedora ขอแนะนำให้ Disable ไว้ก่อน




ปิดการทำงานของ SELinux โดยให้เป็น Disable




กำหนดค่าวันเวลาปัจจุบัน



กำหนดค่าความละเอียดของการแสดงผลเป็น 1024x768 และความลึกของสีที่เหมาะสมกับอุปกรณ์แสดงผลที่ใช้อยู่


กำหนดชื่อผู้ใช้งานเครื่องที่ไม่ใช่ผู้ควบคุมระบบ (Non-Root User) อย่างน้อย 1 ชื่อบัญชี ในการใช้งานปรกติ เช่น การใช้งานแบบเดสทอป ไม่ควรใช้งานโดยใช้ชื่อผู้ใช้ root เนื่องจากเป็นผู้ควบคุมระบบที่มีสิทธิสูงสุด หากมีความผิดพลาดหรือเป็นภัยต่อระบบเกิดขึ้นระหว่างใช้สิทธิของ root จะทำให้ระบบได้รับความเสียหายรุนแรงได้


ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการตั้งค่าและทดสอบการทำงานของ Sound Card ซึ่งในปัจจุบันลีนุกซ์สามารถทำงานได้กับชิปส่วนใหญ่ได้เป็นอย่างดี

การจัดแบ่งพาร์ทิชั่นแบบ Custom



โปรแกรมที่ใช้ในการจัดแบ่งพาร์ทิชั่นของ Fedora นี้มีชื่อว่า Disk Druid การเข้าสู่การใช้ Disk Druid ในการจัดแบ่งพาร์ทิชั่นนี้ผู้ติดตั้งจะต้องเลือก ตัวเลือก Create custom layout จากขั้นตอนการติดตั้ง แทนที่จะเลือกเป็น Default Layout ตามปรกติ


ลักษณะของโปรแกรม disk druid นี้จะช่วยให้สามารถสร้าง ( New ) แก้ไข ( Edit ) ลบ ( Delete ) พาร์ทิชั่นในฮาร์ดดิสก์ที่ต้องการได้จากกรอบด้านล่าง ( ในรูปเป็น /dev/had ) Reset เป็นการยกเลิกให้กลับไปสู่สภาพเดิมก่อนการแก้ไขทั้งหมดRAID และ LVM เป็นการสร้างหรือแก้ไขพาร์ทิชั่น
คลิ๊กที่ปุ่ม New เพื่อเริ่มสร้างพาร์ทิชั่นใหม่




จะได้พาร์ทิชั่น /dev/had ดังรูปผู้ติดตั้งสามารถแก้ไขพาร์ทิชั่นนี้ได้โดยคลิ๊กที่รูป (กรอบบน) หรือที่ชื่ออุปกรณ์ (กรอบล่าง) แล้วคลิ๊กที่ปุ่ม Edit





คลิ๊กที่ปุ่ม เพื่อเริ่มสร้างพาร์ทิชั่นใหม่อีกหนึ่งพาร์ทิชั่นเป็น Swap Partition




ขณะนี้จะมีพาร์ทิชั่นสิ้น 2 พาร์ทิชั่น คือ / และ swap เป็น /dev/hda1 และ /dev/hda2 ตามลำดับ




หลังจากทำการจัดแบ่งพาร์ทิชั่นของดิสก์แล้วโปรแกรมติดตั้งจะให้กำหนดโปรแกรม Boot Loader เป็นลำดับต่อมาซึ่งในปัจจุบันลีนุกซ์ส่วนใหญ่จะใช้โปรแกรม GRUB เป็นโปรแกรม Boot Loader ซึ่งจะช่วยสร้างเมนูการบูตเข้าสู่ระบบปฏิบัติการให้เอง หากมีระบบปฏิบัติการอื่นเช่น MS Windows ติดตั้งอยู่ด้วยก็จะทำหน้าที่เป็นโปรแกรมช่วยในการบูตให้พร้อมมีเมนูให้เลือกได้

การเลือกแพคเกจด้วยตนเอง (Customized Package Selection)



การเลือกแพคเกจด้วยตนเอง จะเริ่มในขั้นตอนการติดตั้งที่ผู้ติดตั้งจะต้องกำหนดตัวเลือก
"Customize now"




โปรแกรมจะเข้าสู่เมนูตัวเลือกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ประเภทของซอฟต์แวร์ รายชื่อกลุ่มของซอฟต์แวร์แพคเกจ และกรอบแสดงคำอธิบายรายละเอียดของซอฟต์แวร์แพคเกจที่กำลังเลือกอยู่ ซึ่งในแต่ละกลุ่มจะประกอบด้วยแพคเกจย่อยๆ อีกหลายแพคเกจ โดยผู้ติดตั้งสามารถเข้าไปเลือกทีละแพคเกจได้โดยใช้ปุ่ม Optional packages

ประเภท Desktop Environment เป็นสภาพแวดล้อมแบบกราฟฟิกของลีนุกซ์ มี GNOME กับ KDE ปรกติ Fedora จะเลือก GNOME เป็นค่าปริยาย ให้เลือก KDE เพิ่มอีกหนึ่งทางเลือก




ใน Optional packages ควรเพิ่มแพคเกจที่น่าสนใจเข้าไปอีกได้แก่ kdeadmin




ในประเภท Applications ควรเลือกเฉพาะงานที่ต้องการใช้เท่านั้น เช่น ไม่เลือกติดตั้ง Authoring and Publishing ,Engineering and Scientific ,Graphics ,Office/Productivity เป็นต้น




ประเภท Development หรือเครื่องมือพัฒนาโปรแกรม มีส่วนสำคัญต่อการคอมไพล์และติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเข้าสู่ระบบ จึงควรเลือกให้เพียงพอต่อการใช้งาน




ประเภท Servers คือ โปรแกรมบริการในระบบเครือข่ายทั้งหลาย เช่น Database ,Web ,File Serverควรเลือกเฉพาะที่ต้องการใช้งานเท่านั้น เนื่องจากแต่ละเซิร์ฟเวอร์มักจะมีหน้าที่เพียงไม่กี่อย่างเท่านั้น




ส่วน Base System จะเป็นส่วนประกอบหลักของระบบปฏิบัติการที่ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ผู้ควบคุมระบบจำเป็นต้องใช้



ส่วนประเภทสุดท้ายคือ Languages ควรเลือก Thai Support เพื่อให้มีการติดตั้งแพคเกจที่เกี่ยวข้องกับระบบภาษาไทย เช่น รูปแบบอักขระ (Fonts) การเข้ารหัส ( Encoding ) และรูปแบบแป้นพิมพ์ ( Keyboard Layouts )

วันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553

week 1 20/10/2553

คำถามถามทดสอบก่อนเรียน

1. ข้อใดคือความหมายของระบบเครือข่าย
ค. ระบบที่มีการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ 2 ตัวขึ้นไปเพื่อสามารถรับส่งข้อมูลกันได้
2. องค์ประกอบพื้นฐานของระบบเครือข่าย ประกอบด้วย 3 ส่วน คืออะไรบ้าง
ก. ฮาร์ดแวร์ สื่อกลางนำข้อมูล ซอฟต์แวร์
3. ข้อใดไม่ใช่ซอฟต์แวร์สำหรับระบบเครือข่าย
ก. Microsoft Windows Server 2003
4. สาย UTP (Unshielded Twisted-Pair) คืออะไร
ค. สายขนาดเล็ก มี 8 เส้น
5. ใช้สาย UTP (Unshielded Twisted-Pair)
ง. ถูกทั้ง ข. และ ค.
6. Token-Ring
ง. ถูกทุกข้อ
7. ข้อใดคือความหมายของ Baseband
ค. ส่งเป็นสัญญาณแบบดิจิตอล 0 และ 1
8. Broadband คืออะไร
ง. การผสมสัญญาณที่จะส่งเข้ากับสัญญาณอนาล็อก
9. ข้อใดมีความเร็วที่สุด
ง. Fiber Optic
10. FiberOptic ส่งสัญญาณลักษณะใด
ง. ถูกทั้ง ข. และ ค.
11. ข้อใดคือข้อดีของระบบเครือข่ายไร้สาย
ง. ถูกทุกข้อ
12. Wireless Adapter หมายถึงอะไร
ค. ถูกทั้ง ก. และ ข.
13. ข้อใดคือเครือข่ายไร้สายแบบ Client/Server
ง. ถูกทั้ง ก. และ ค.
14. “รีพีตเตอร์” ทำหน้าที่อย่างไร
ข. ทวนสัญญาณ
15. อุปกรณ์ Switch ทำหน้าที่อย่างไร
ง. หาเส้นทางที่ดีที่สุด