วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

แบบฝึกหัด หน่วยที่2

แบบฝึกหัด หน่วยที่2
คำสั่ง จงบอกชื่อ และหน้าที่ประกอบของหน้าจอโปรแกรม Adobe PageMaker 7.0 ต่างๆ ต่อไปนี้ ให้ถูกต้อง
1.แถบชื่อเรื่อง Title Bar แถบชื่อเรื่อง เป็นแถบที่แสดงชื่อโปรแกรม และแสดงไฟล์ที่กำลังใช้อยู่

2.แถบเมนู Menu Bat เป็นแถบที่อยู่ด้านบน ทำหน้าที่เกี่ยวกับการบอกกลุ่มคำสั่งของเมนู ต่าง ๆ ซึ่ง เมื่อกดเลือก

3.แถบเครื่องมือ Tool Bar เป็นแถบเครื่องมือที่ใช้เรียกผ่านทาง Icon

4.กล่องเครื่องมือ Tool Box เป็นแถบเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานสร้างเอกสารได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น

5.พื้นที่กระดาษ Artboard ใช้ในการทำงาน

6.ไม้บรรทัดเเนวตั้ง Vertical Ruler ใช้เลื่อนการทำงานไม้บรรทัดเป็นแนวตั้ง

7.เส้นเเสดงกรอบกระดาษ Guideline Margin ใช้สำหรับการแบ่งบรรทัดหรือหน้ากระดาษ

8.พิ้นที่กระดาษทด Pasyeboard เป็นพื้นที่ว่างในการใช้งาน

9.แผงควบคุม Control Palette ใช้แสดงตำแหน่งใน Pointer Tool

10.แถบเลื่อนเเนวตั้ง Vertical Scroll bar ใช้เลื่อนการทำงานบรรทัดเป็นแนวตั้ง

11.หน้าต้นเเบบ Master Page เป็นการแสดงหน้ากระดาษเป็นแบบสองหน้าคู่

12.หน้ากระดาษ Page lcon เป็นการหน้ากระดาษที่ใช้งานอยู่หรือเพิ่มหรือลบ

13.แถบเลื่อนแนวนอน Horizontal Scroll bar ใช้เลื่อนการทำงานบรรทัดเป็นแนวนอน

แบบฝึกหัดบทที่1

แบบฝึกหัด หน่วยที่ 1 เรื่อง ทำความรู้จักกับสื่อสิ่งพิมพ์
คำสั่ง จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ได้ใจความที่สมบูรณ์ที่สุด

1. สื่อสิ่งพิมพ์หมายถึง

ตอบ
สื่อหรือสิ่งที่ใช้ในการสื่อสารหรือแจ้งรายละเอียด ข่าวสาร เหตุการ์หรือสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการให้ผู้รับสารหรือผู้บริโภคทราบ ซึ่งสื่อดังกล่าวได้มาจากการพิมพ์หรือขบวนการสร้างงานด้วยวิธีการ ขั้นตอน หรือกระบวนการพิมพ์

2. จงบอกประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์ที่แบ่งตามระบบการผลิต

ตอบ
2.1สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทออฟเซท หมายถึงสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีวิธีการผลิตอ้วยระบบพิมพ์ออฟเซท หรือการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์หรือแท่นพิมพ์ ซึ่งเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่นิยมใช้กันมาก

2.2สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทซิลค์สกรีน หมายถึง สื่อสิ่งพิมพ์ที่มีการผลิตด้วยขั้นตอนแบบซิลค์สกรีน หรือ หมายถึงการป้ายหรือปาดสีต่าง ๆ ลงบนพื้นผิวของสื่อสิ่งพิมพ์ เช่นกระดาษ แผ่นพลาสติก หรือสติกเกอร์ ซึ่งระบบการพิมพ์แบบซิลค์สกรีนนี้ จะเหมาะกับงานที่ใช้จำนวนไม่มากนั้น เพราะวิธีการปาดสีลงในผิววัสดุนั้นไม่สามารถควบคุมมาตรฐานของงานได้ดีเท่ากับการใช้ระบบออฟเซท

2.3สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทเรียงพิมพ์หรือตีพิมพ์ หมายถึง สื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตด้วยวิธีการพิมพ์ในระบบเก่า ซึ่งงานที่ได้จะไม่มีความละเอียดและสวยงามเท่าการใช้ระบบออฟเซท แต่ราคาถูกกว่า ซึ่งงานที่นิยมใช้ระบบเรียงพิมพ์หรือตีพิมพ์นั้น ได้ แก่ การทำใบปลิว พิมพ์ผ้าป่า หรือ เอกสารต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการความละเอียดมากนัก และลักษณะงานที่ได้จะมีความคล้ายคลังกับการโรเนียว


3.จงบอกประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์ที่แบ่งตามลักษณะ

ตอบ
3.1 หนังสือ หมายถึง สื่อสิ่งพิมพ์ที่มีหลายหน้าเย็บรวมเข้าเป็นเล่ม หรือ เป็นปึกมีปกหุ้มซึ่งอาจจะเป็นปกแข็ง หรือ ปกอ่อนก็ได้ ขนาดของหนังสือไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับการออกแบบ ซึ่งอาจจะมีขนาด 8 หน้ายก หรือ 16 หน้ายก

3.2 วารสารและนิตยสาร หมายถึง สื่อสิ่งพิมพ์ที่ออกเป็นระยะติดต่อกันไป มีกำหนดระยะเวลาออกที่แน่นอน เนื้อหาอาจจะเป็นบทความทางวิชาการ สารคดี หรือ บันเทิงคดี

3.3 หนังสือพิมพ์ หมายถึง สื่อสิ่งพิมพ์ที่ออกเป็นระยะติดต่อกัน มีขนาดใหญ่ จำนวนหลายแผ่น พับได้ส่วน ใหญ่จะออกเป็นรายวัน และเสนอข่าว เป็นรายวัน

3.4 จุลสาร หมายถึง สื่อสิ่งพิมพ์ที่จัดทำในรูปของหนังสือที่มีความหนาไม่มากนัก มี จำนวนหน้าน้อย มีการเย็บเล่มเป็นหนังสือเล่มเล็ก ๆ มีเรื่องราวที่จบสมบรูณ์ในเล่มเดียว

3.5 แผ่นพับ หมายถึง แผ่นกระดาษที่พิมพ์ภาพ ข้อความ และองค์ประกอบอื่น พิมพ์ในกระดาษแผ่นเดียว พับหนึ่งพับสองหรือพับสามก็ได้ เมื่อกางแผ่นที่พับออกจะเป็นกระดาษแผ่นยาว ๆ โดยปกติจะใช้ในการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร โฆษณาหรือประกาศ ซึ่งเป็นแบบที่ประหยัดเพราะไม่ต้องเข้าเล่มหรือเย็บเล่ม

3.6 ใบปลิวหรือแผ่นปลิว หมายถึง กระดาษแผ่นเดียวไม่มีรอสยพบ จะพิมพ์หน้าเดียวหรือสองหน้าก็ได้ ขนาดกว้างยาวไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับการออกแบบ

3.7 สิ่งพิมพ์เบ็ดเตล็ด ได้แก่ การ์ด แผ่นโฆษณา แคตาลอก สิ่งพิมพ์เหล่านี้ผลิตขึ้นเพื่อใช้ในงานต่าง ๆ กัน

4. คอมพิวเตอร์มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรกับการผลิตสื่อส่งพิมพ์

ตอบ เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่ใช้ในการเตรียมงานก่อนพิมพ์ เพราะปัจจุบันนิยมทำอาร์ทเวิร์คโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากคอมพิวเตอร์สามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ สวยงาม น่าสนใจและเหมือนจริงมากที่สุด ซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้สำหรับจัดทำอาร์ทเวิร์ค ได้แก่ โปรแกรม Adobe PageMaker

5. จงอธิบายขั้นตอนหรือกระบวนการ ในการผลิต สื่อสิ่งพิมพ์

ตอบ
5.1 การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึง การวางโครงร่างหรือรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ต้องการเป็นการสร้างโครงร่างพื้นฐานเพื่อให้เข้าใจลักษณะงานที่ต้องทำ

5.2 การจัดทำอาร์ทเวิร์ค หมายถึง การสร้างสื่อส่งพิมพ์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์

5.3 การทำฟิล์ม จะเป็นการนำอาร์ทเวิร์คที่ทำเสร็จแล้วไปจัดทำเป็นพิล์ม ซึ่งการทำฟิล์มนั้นจะแตกต่างกันไปตามระบบในการพิมพ์ด้วย

5.4 ขั้นตอนการทำเพลทและบอกซ์ การทำเพลทหรือบอกซ์จะเป็นการสร้างแบบพิมพ์ที่จะ ใข้สำหรับนำไปพิมพ์สื่อสิ่งพิมพ์ในขั้นตอนต่อไป

5.5 ขั้นตอนการพิมพ์งาน การพิมพ์งานก็คือการนำเพลทหรือบอกซ์ที่ได้ไปทำการพิมพ์หรือสร้างสื่อส่งพิมพ์ตามกระบวนการ เช่น การพิมพ์ออฟเซท การซิลค์สกรีน เป็นต้น

5.6 การตกแต่งและเก็บรูปเล่ม การตกแต่งและเก็บรูปเล่มจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการทำงานสื่อสิ่งพิมพ์ สำหรับการตกแต่งและการเก็บรูปเล่มนั้นจะหมายถึงการตัดเจียนเนื้องานหรือแผ่นวัสดุให้มีขนาดพอดีกับที่ต้องการ การเข้าเล่ม ในกระณีที่เป็นหนังสือหรือนิตยสาร เป็นต้น

6. อุปกรณ์หลัก ๆ ที่ใช้ในการจัดเตรียม Art work ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ตอบ คอมพิวเตอร์ และ Program Adobe PageMaker

วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เทคโนโลยีสมัยใหม่

ประวัติของอินเทอร์เน็ต (Internet)

อินเทอร์เน็ต (Internet)
อินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเริ่มก่อตั้งโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา
โดยสายส่งสัญญาณเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ภารกิจหลักเพื่อใช้ในงานวิจัยทางทหาร
โดยใช้ชื่อว่า "อาร์ปา" (ARPA : Advanced Research Project Agency)


ปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พา ประสบความสำเร็จ ก็ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจาก
อาร์ปา มาเป็นดาร์พา (Defence Communication Agency) ในปี 2526 อาร์ปาเน็ตได้แบ่งเป็น 2 เครือข่าย ด้านงานวิจัยใช้ชื่อว่าอาร์ปาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ มิลเน็ต (MILNET: Military Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เป็นครั้งแรก

ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกา (NSF) ได้ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์
คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFNET และพอมาถึงในปี 2533 อาร์ปาเนตไม่สามารถ ที่จะรองรับ ภาระที่
เป็นหลัก (Backbone) ของระบบได้ อาร์ปาเน็ตจึงได้ยุติลง และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายอื่นๆ แทน
มาจนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ โดยเรียกเครือข่ายว่า อินเทอร์เน็ต โดยเครือข่ายส่วนใหญ่
่จะอยู่ในอเมริกา และปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อย มากมายทั่วโลก


อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศ
ออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อ
คอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สถาบันเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC),
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"


เครือข่ายไทยสารเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการเข้ามาเชื่อมต่อกับ
เครือข่ายนี้เพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก จะเห็นได้ว่าอินเทอร์เน็ตในประเทศขณะนั้นยังจำกัดอยู่ในวงการศึกษา และการวิจัย
เท่านั้น ไม่ได้เป็นเครือข่ายที่ให้บริการในรูปของธุรกิจ แต่ทางสถาบันนั้น ๆ จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง


ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ความต้องการในการใช้อินเทอร์เน็ตจากภาคเอกชนมีมากขึ้น การสื่อสาร
แห่งประเทศไทย (กสท) จึงได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชน เปิดบริการอินเทอร์เน็ต ให้แก่บุคล ผู้สนใจทั่วไปได้สมัคร
เป็นสมาชิก ตั้งขึ้นในรูปแบบของบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ เรียกว่า "ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต"
หรือ ISP (Internet Service Provider)



อินเทอร์เน็ต (Internet)

อินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน เป็นเครื่องมือในการประกอบธุรกิจ แม้กระทั่ง
กลายเป็นสื่อที่จำเป็นของภาครัฐในการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ ข้อมูล ข่าวสาร ออกไป สู่สังคมภายนอกให้ได้ทราบ
นี่คือสภาพแห่งความเป็นจริงของสังคมโลกที่ไม่สามารถจะปฏิเสธได้

หากจะกล่าวถึงอินเทอร์เน็ต ก็คงจะต้องกล่าวถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network) ควบคู่กันไป
ด้วยเหตุที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์จะรวมเอาเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเชื่อมต่อเข้าด้วยกันผ่านทางระบบ
การสื่อสาร (communications) เช่น ทางสายเคเบิล สายโทรศัพท์ โมเด็ม และ ดาวเทียม เป็นต้น

เครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดของโลก เราเรียกว่า "อินเทอร์เน็ต" (internet) ซึ่งรวมเอาเครือข่าย
ต่างๆ จำนวนมหาศาลที่มีอยู่ทั่วโลกมาเชื่อมต่อ (links) เข้าเป็นเครือข่ายเดียวกัน โดยแต่ละเครือข่ายจะจัดกลุ่ม
ของข้อมูลกันเองเพื่อสะดวกต่อการที่จะเข้าไปสืบค้นข้อมูลได้ อย่างสะดวก รวดเร็ว

ระบบเครือข่ายจำนวนมากรวมเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งมักนิยมเรียนสั้นๆ ว่า "เน็ต" (Net)
อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อสาธารณะที่ทุกคนมีสิทธิบริโภคอย่างเท่าเทียมกันไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ โดยแต่ละองค์กร หรือ
หน่วยงานก็จะรับผิดชอบดูแลในส่วนของตนที่เกี่ยวข้อง มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 100 ล้านคนทั่วโลกที่เข้ามา
เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและใช้บริการด้วยเหตุผลและความต้องการที่ต่างๆ กันซึ่งพอที่จะสรุปเป็นข้อ ๆ ได้ คือ

เพื่อค้นคว้าหาข้อมูล ข่าวสาร งานวิจัย และ เพื่อการศึกษา
เพื่อจัดการเกี่ยวกับธุรกิจ การเงิน การซื้อขายสินค้า
เพื่อความบันเทิง ท่องเที่ยว
เพื่อหาซื้อสินค้า และบริการต่าง ๆ
เพื่อพบปะสังสรรค์กับบุคคลอื่น
เพื่อเข้าสู่ระบบเครือข่ายอื่นๆ และแลกเปลี่ยนข้อมูล
รับส่งจดหมาย เอกสาร ข้อความ
บริการบนอินเทอร์เน็ตมีหลายอย่างด้วยกัน เช่น

เวิลด์ ไวด์ เว็บ WWW
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
FTP
Telnet
UseNet Newsgroups
Chat


เวิลด์ ไวด์ เว็บ (World Wide Web)

เป็นบริการหนึ่งที่อยู่บนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การพัฒนาของเครือข่าย
ใยแมงมุม ได้ดำเนินไปอย่างรวดเร็วและก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านมัลติมีเดีย
ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทวีความมหัศจรรย์ให้กับการศึกษาในโลกไร้พรมแดน และกลายเป็นแหล่งทรัพยากร
ของกระบวนการเรียนการสอนที่สนองต่อกระบวนการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดียิ่ง

เมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านี้มีผู้สนใจใช้งานอินเทอร์เน็ตไม่มากนัก เนื่องจากการใช้บริการ อินเทอร์เน็ต
ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข่าวสารข้อมูล การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การสำเนา แฟ้มข้อมูล ฯลฯ จะอยู่ในรูปแบบ
ของตัวอักษร (Text Mode)เท่านั้น ไม่มีการแสดงที่เป็นรูปภาพ เสียง ภาพยนตร์ และไม่มีอักษรแบบต่าง ๆ ปรากฎ
ให้เห็นแต่อย่างใด นอกจากนี้ผู้ใช้จะต้องเรียนรู้การใช้คำสั่งคอมพิวเตอร์มากมาย เช่น ต้องเรียนรู้คำสั่งเบื้องต้น
ของยูนิกซ์ (UNIX) เนื่องจากเมื่อจะมีการเรียกใช้งานอินเทอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ จะอยู่ภายใต้ระบบ
ปฏิบัติการยูนิกซ์ ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องเรียนรู้คำสั่งเบื้องต้นของยูนิกซ์ เพื่อทำการป้อนคำสั่งที่เป็นตัวอักษรด้วยตัวเอง


จนกระทั่งมีบริการที่เรียกว่า World Wide Web (WWW) หรือ เครือข่ายใยแมงมุมเกิดขึ้นทำให้
ความนิยมการใช้อินเทอร์เน็ตสูงขึ้น เนื่องจาก WWW เป็นบริการหนึ่งที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต ที่ใช้งานได้ง่าย สะดวก
ผู้ใช้ไม่ต้องจำคำสั่งของยูนิกซ์อีกต่อไป การอ่านและค้นหาข้อมูลสามารถกระทำได้เพียงแต่กดปุ่มเมาส์เพียงอย่างเดียว
เท่านั้น

การที่จะใช้บริการ WWW ได้นั้นจำเป็นจะต้อง มีส่วนประกอบ 2 ส่วน ดังนี้


1. แหล่งข้อมูล หรือเว็บไซต์ (Web Site)
2. โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser)


แหล่งข้อมูล หรือ เว็บไซต์
คือระบบคอมพิวเตอร์ที่เป็นแหล่งเก็บเว็บเพจ ที่ผู้ใช้บริการสามารถเรียกดูเว็บเพจที่ เก็บอยู่ใน
เว็บไซต์นั้นได้ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเว็บไซต์อาจจะใช้ระบบปฏิบัติ
เว็บเพจเป็นเอกสารแบบไฮเปอร์เท็ก (Hypertext document) เก็บอยู่ที่เว็บไซต์ต่าง ๆ
ในรูปของแฟ้ม ข้อมูลที่มักจะสร้างขึ้นด้การ ยูนิกซ์ (UNIX) หรือ
วินโดวส์เอนที (Windows NT) ก็ได้ ผู้เป็นเจ้าขอเว็บไซต์จะจัดสร้างเว็บเพจ ของตนเก็บไว้ที่เว็บไซต์เพื่อให้
ผู้ใช้คนอื่นทั่วโลก สามารถเข้ามาดูเว็บเพจที่เก็บไว้ในเว็บไซต์นั้นได้ เช่นเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
จะเก็บอยู่ที่เว็บไซต์ http://ww.swu.ac.th เขียนด้วยภาษา HTML (Hypertext Markup Language)
โดยมีนามสกุลเป็น htm หรือ html

โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser)
เป็นโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ ในการเข้าสู่ WWW และเปิดดูเว็บเพจ ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลนั้น
ขึ้นมาแสดง ได้โดยใช้โปรแกรม ประเภท Web Browser เช่น Netscape หรือ Internet Explorer
เว็บเพจที่เป็นหน้าแรก ของเว็บเพจ นิยมเรียกกันว่า "โฮมเพจ" (Home Page)


การเข้าถึงเว็บเพจใดๆ นั้นผู้ใช้จะต้องทราบตำแหน่งที่อยู่ของเพจนั้น ๆ บนเว็บเสียก่อน
ตำแหน่งที่อยู่ เหล่านี้ เรียกว่า URL (Uniform Resource Locators) ตัวอย่างของ URL ได้แก่

http://www.swu.ac.th URL ที่เป็นโฮมเพจของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

http://www.tv5.co.th URL ที่เป็นโฮมเพจของสถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง5

http://www.nectec.or.th URL ที่เป็นโฮมเพจของ NECTEC

http://www.yahoo.com URL ที่เป็นโฮมเพจของ Yahoo

http://www.srithai.com URL ที่เป็นโฮมเพจของ Srithai

http://www.geocities.com/TheTropics/Paradise/2703 URL โฮมเพจฟรีของ Geocities



ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)


E-mail เป็นบริการในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สำคัญที่มีผู้นิยมใช้บริการกันมากที่สุด
สามารถส่งตัวอักษร ข้อความ แฟ้มข้อมูล ภาพ เสียง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้รับ อาจจะเป็นคนเดียว
หรือกลุ่มคนโดยทั้งที่ผู้ส่งและผู้รับเป็นผู้ใช้ที่อยู่ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เดียวกัน ช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสาร
ระหว่างกันได้ทั่วโลก มีความสะดวก รวดเร็ว และสามารถสื่อสารถึงกันได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้รับ
จะอยู่ที่ไหน จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่หรือไม่ เพราะไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จะเก็บข้อความเหล่านั้นไว้

เมื่อผู้รับเข้าสู่ระบบเครือข่าย ก็จะเห็นข้อความนั้นรออยู่แล้วความสะดวกเหล่านี้ ทำให้นักวิชาการ
สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารถึงกันและกัน นักศึกษาสามารถปรึกษา หรือฝึกฝนทักษะกับอาจารย์ หรือ เพื่อน
นักศึกษาด้วยกันเอง โดยไม่ต้องคำนึงถึงเวลา และระยะทาง โดยผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ไม่ว่าจะอยู่ตรงส่วนใด
ของมุมโลก

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อประเภทหนึ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้ และช่วยขจัด ปัญหาในเรื่อง
ของเวลา และระยะทาง ผู้เรียนจะรู้สึกอิสระและกล้าแสดงออกมากกว่าปกติ ตลอดจนสามารถเข้าถึงผู้เรียนเป็นราย
บุคคลได้เป็นอย่างดี ในยุคสารสนเทศดังเช่นปัจจุบัน ระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะมีบทบาทสำคัญ ในการพัฒนา
สังคมให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้อย่างรวดเร็ว ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นรูปแบบการสื่อสารที่ทันสมัยรูปแบบหนึ่ง
จากความสำคัญของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถอำนวยประโยชน์ให้กับผู้ใช้อย่างคุ้มค่านี้
ทำให้ในปัจจุบันไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ แทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานทุกแห่งทั่วโลก และในที่สุดเมื่อ
ทุกบ้านมีคอมพิวเตอร์ใช้ สมาชิกในชุมชนโลกก็จะสามารถติดต่อกันผ่านทางคอมพิวเตอร์ การทำงานตามสำนักงาน
หรือสถานที่ต่างๆ จะถูกเปลี่ยนไปสู่การทำงานที่บ้านมากขึ้นโดยการรับส่งงานทางคอมพิวเตอร์



การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (File Transfer Protocol : FTP)


ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การถ่ายโอนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ กับเครี่องคอมพิวเตอร์
กระทำได้โดยง่าย ไม่ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสองนี้จะอยู่ห่างกัน เพียงใดก็ตาม เพียงแต่ผู้ใช้ใช้คำสั่งในการ ถ่ายโอน
ข้อมูลในเครือข่าย (FTP) ก็สามารถ คัดลอกแฟ้มที่ต้องการได้ การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลที่มักจะพบบ่อย ๆ แบ่งออกเป็น
2 ประเภท คือ การโอนย้ายจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์มายังคอมพิวเตอร์ส่วนตัว (Download) และการ โอนย้ายแฟ้ม
ข้อมูล จากคอมพิวเตอร์ของเราไปยังคอมพิวเตอร์หลักในระบบเครือข่าย (Upload) ได้ทั่วโลก



เทลเน็ต (Telnet)

เป็นบริการในการเข้าไปใช้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยการสั่งงานที่เครื่องของ
ผู้ใช้เอง เป็นการควบคุมการทำงานและการบังคับในระยะไกล การเรียกใช้บริการเทลเน็ตนั้นผู้ใช้ จะต้องระบุที่อยู่ของ
โฮสต์หรือเซิร์ฟเวอร์ที่จะเข้าไปใช้เสียก่อน เช่น การเข้าไปใช้บริการ Telnet ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เราก็จะต้องระบุที่อยู่ ของโฮสต์ www.swu.ac.th เสียก่อน และที่สำคัญคือผู้ใช้จะต้องมีบัญชีชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่าน
ของโฮสต์นั้นๆ มิฉะนั้นก็จะไม่สามารถเข้าไปใช้งานได้




บอร์ดข่าวสารบนอินเทอร์เน็ต (Usenet Newsgroup)

Usenet เป็นบริการที่มีผู้นิยมใช้มากอีกบริการหนึ่ง มีลักษณะคล้ายกับการใช้อีเมล์ แต่แทนที่จะส่ง
จดหมายไปหาผู้รับโดยตรงอย่างอีเมล์ ก็จะเปลี่ยนเป็นการส่งข่าวไปยังศูนย์ที่เรียกว่า กลุ่มข่าว (Newsgroup)
ซึ่งอาจเปรียบกลุ่มข่าว ได้กับบอร์ดข่าวสารที่ใช้ติดประกาศให้ผู้สนใจได้รับทราบ




การสนทนาผ่านเครือข่าย (Chat)

Chat เป็นการประชุมหรือสนทนาผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เรียกย่อ ๆ ว่า IRC
(Internet Relay Chat) มีลักษณะคล้าย ๆ กับการทอล์ค (Talk) ซึ่งสามารถคุยเป็นการส่วนตัว หรือเป็นกลุ่มก็ได้
โดยใช้การพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันแบบทันทีทันใด ข้อความนั้นจะไปปรากฎบนจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ที่
ติดต่อด้วยในเวลาอันรวดเร็ว
เมื่อผู้รับอ่านข้อความนั้นแล้ว ก็สามารถพิมพ์ข้อความตอบกลับได้ในทันที ซึ่งในวงการการศึกษา
สามารถนำมาใช้เพื่อการเรียนการสอนทางไกลได้ เราสามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นได้ทั่วโลกโดยการพิมพ์
ข้อความถึงกัน การสนทนาลักษณะนี้เราเรียกว่า chatting ทำให้ผู้คนได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ
ประสบการณ์ได้อย่างสะดวก ประหยัด ค่าใช้จ่าย เพราะลักษณะของการติดต่อสื่อสารจะไม่ต้องเสียค่าบริการ
แบบโทรศัพท์ทางไกล



การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์
เข้าสู่ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet)

ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตหลายคนอาจเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยผ่านทางระบบเครือข่ายของสำนักงาน บริษัท
หรือสถานศึกษาของตน ซึ่งตามปกติแล้วหากเป็นหน่วยงานหรือสำนักงานใหญ่ๆ จะต่อคอมพิวเตอร์เป็นระบบภายใน
องค์กร (LAN) ซึ่งมักจะเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการ (ISP) ผ่านสายนำสัญญาณความเร็วสูง (High-Speed Leased
Line) แทนที่จะเชื่อมต่อผ่านโมเด็ม (Modem) แต่ถ้าหากว่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ในวง LAN ที่ไม่โตมากนักก็อาจ
ใช้เชื่อมต่อผ่านโมเด็มก็ได้ เพราะจะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อระบบ แต่อาจจะมีปัญหาในเรื่องความเร็ว
ในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ตบ้างเล็กน้อย




การเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตผ่านทางผู้ให้บริการ

ผู้ให้บริการเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต เรียกว่า ISP (Internet Service Provider)
หรือที่เรียกกันว่า ไอเอสพี จะเป็นองค์กรที่ทำการติดตั้งและดูแลเครื่องให้บริการ (Server) ที่ต่อตรงเข้ากับระบบ
อินเทอร์เน็ต ซึ่งอนุญาตให้ผู้ที่สมัครเป็นสมาชิกขององค์กรนำระบบของตนเองเข้าไปเชื่อมต่อได้ ดังนั้น ISP ก็เปรียบ
เสมือนช่องทางผ่านเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งหลังจากที่เราเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้แล้ว เราก็สามารถเข้า
ไปยัง ส่วนใด ๆ ก็ได้ในระบบอินเทอร์เน็ต


การเชื่อมต่อผ่านทาง ISP ยังแบ่งลักษณะการเชื่อมต่อออกเป็น 2 ประเภทตามความต้องการ
ใช้งานดังนี้

1. การเชื่อมต่อแบบองค์กร
เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งระบบเครือข่ายใช้งานภายในองค์กรอยู่แล้ว จะสามารถนำเครื่องแม่ข่าย
(Server) ของเครือข่ายนั้นเข้าเชื่อมต่อกับ ISP เพื่อเชื่อมโยง เข้าสู่ระบบ อินเทอร์เน็ตได้เลย


2. การเชื่อมต่อส่วนบุคคล
เป็นการเชื่อมต่อของบุคคลธรรมดาทั่วไปซึ่งสามารถ่ขอเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ อาจจะเป็นที่บ้านหรือที่ทำงาน เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า
โมเดม (Modem) ซึ่งค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก เรามักเรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า การเชื่อมต่อแบบ Dial-Up
โดยผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกของ ISP เพื่อขอเชื่อมต่อผ่านทาง SLIP หรือ PPP account



TCP/IP : ภาษาหลักในอินเทอร์เน็ต

ปัจจุบันมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนมากทั่วโลก แต่ละคนก็ใช้คอมพิวเตอร์ต่างแบบต่างรุ่นกัน ดังนั้น
การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องอาศัยภาษากลางที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้ากันกันได้ ซึ่งภาษากลางนี้
มีชื่อทางเทคนิคว่า "โปรโตคอล" (Protocol) สำหรับโปรโตคอลเป็นมาตรฐานที่ใช้ในการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต
มีชื่อเรียกว่า TCP/IP ซึ่งได้แพร่หลายไปทั่วโลกพร้อมๆ กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเป็นโปรโตคอลที่กำลังได้รับ
ความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน


หลักการทำงานของโปรโตคอล TCP/IP จะแบ่งข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่งไปยังเครื่องอื่นเป็น
ส่วนย่อยๆ ( เรียกว่า แพ็คเก็ต : packet ) และส่งไปตามเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยการกระจายแพ็กเก็ต
เหล่านั้นไปหลายทาง โดยในแต่ละเส้นทางจะไปรวมกันที่จุดปลายทาง และถูกนำมารวมกันเป็นข้อมูลที่สมบูรณ์
อีกครั้งหนึ่ง

รูปแบบการทำงานของโปรโตคอล TCP/IP ที่มีการแบ่งข้อมูลและจัดส่งเป็นส่วนย่อย จะสามารถ
ช่วยป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นสในการติดต่อสื่อสารได้ เพราะถ้าข้อมูลสูญหายก็จะเกิดเป็นเพียงบางส่วน
เท่านั้นมิใช่หายไปทั้งหมด ซึ่งคอมพิวเตอร์ปลายทางสามารถตรวจหาข้อมูลที่สูญหายได้ และติดต่อให้คอมพิวเตอร์
ต้นทางส่งเพียงเฉพาะข้อมูลที่หายไปมาใหม่ได้ โปรโตคอล TCP/IP ถูกคิดค้นโดยรัฐบาลสหรัฐ และถูกนำมาใช้กับ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพี่อป้องกัน ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ในกรณีที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ใหญ่ในรัฐใดรัฐหนึ่ง
ถูกโจมตีจนได้รับความเสียหาย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนที่เหลือก็ยังสามารถติดต่อถึงกันได้อยู่ เพราะข้อมูลจะ
ถูกโอนย้ายไปตามเส้นทางอื่นในเครือข่ายแทน



SLIP/PPP : ช่วยสื่อสารผ่านสายโทรศัพท์

ในการส่งข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ตนั้น จำเป็นต้องส่งผ่านทั้งในระบบสายสัญญาณ 6 สาย ในระบบ
LAN และระบบสายโทรศัพท์ประกอบกัน ดังนั้นเพื่อให้การสื่อสารเป็นไปได้อย่างราบรื่น จึงต้องมีโปรโตคอล เพิ่มขึ้น
อีก ซึ่งได้แก่ โปรโตคอล SLIP (Serial Line Internet Protocol) และ PPP (Point-to-Point Protocol)
ซึ่งทำงานบน TCP/IP อีกทีหนึ่ง



SLIP

โปรโตคอล SLIP ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ TCP/IP สามารถสื่อสารผ่านสายโทรศัพท์เพื่อส่งผ่านข้อมูล
ระหว่างระบบแลน (LAN) กับระบบแวน (WAN) ได้ซึ่งก็ได้รับความนิยม และเป็นที่ใช้ กันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะ
ในระบบ UNIX ได้นำโปรโตคอลนี้ติดตั้งไว้เป็นส่วนหนึ่งของระบบ นั่นหมายความว่าทุกเครื่องที่ใช้ระบบ UNIX
จะมีโปรโตคอล SLIP อยู่ในตัวและสามารถใช้งานได้ทันที



PPP

เนื่องจากปรากฎว่าโปรโตคอล SLIP เกิดมีปัญหาไม่เข้ากันกับโปรโตคอลบางตัวที่ระบบแลน (LAN)
นั้นใช้อยู่เดิมจึงได้มีการพัฒนาโปรโตคอลขึ้นมาใหม่ในชื่อ PPP เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ดังนั้น PPP จึงเป็นโปรโตคอล
ที่สามารถใช้ร่วมกับโปรโตคอลอื่นๆ ได้ดี อีกทั้งยังเพิ่ม ระบบการตรวจสอบข้อมูล การรักษาความปลอดภัย และการ
บีบอัดข้อมูลซึ่งทำงานได้ดีกว่า SLIP และก็คงถูกใช้เป็นมาตรฐานต่อไป




IP address : ระบุที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์

เราอาจสงสัยเกี่ยวกับการทำงานของอินเทอร์เน็ตว่า รู้จักที่อยู่ของคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้อย่างไร?
ลักษณะก็จะเหมือนกับเมื่อเราต้องการหาบ้านหลังหนึ่งในเมือง ขนาดใหญ่ไห้พบ เราต้องทราบข้อมูล เช่น บ้านเลขที่
ถนน ตำบล เป็นต้น ในอินเทอร์เน็ต ก็เช่นเดียวกัน เมื่อเราต้องการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เราก็จะต้องการ
ที่อยู่ของ เครื่องนั้นๆ บนอินเเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า ไอพี แอดเดรส (IP address)
IP address เป็นหมายเลขประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ซึ่งไม่ซ้ำกับเครื่องอื่นในโลก
โดยประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุดต่อกัน โดยมีจุด (.) เป็นสัญลักษณ์ แบ่งตัวเลขเป็นชุด ซึ่งแต่ละชุดจะมีค่าได้
ตั้งแต่ 0 ถึง 255

ตัวอย่าง : IP address 208.49.20.16

เนื่องจาก IP address เป็นหมายเลขที่ไม่ซ้ำกัน จึงได้เกิดหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแล เรื่องการจัดสรร
IP address โดยตรง หน่วยงานนี้มีชื่อว่า interNIC (Internet Network Information Center) สำหรับผู้ใช้
อินเทอร์เน็ตทั่วๆไปจะได้รับ IP address จากผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider)
ซึ่งได้ทำการขอ IP address เตรียมไว้ ล่วงหน้าแล้ว


Domain Name : อินเทอร์เน็ตแอตเดรส

ถึงแม้การทำงานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะใช้ IP address แต่เนื่องจากเป็นชุดตัวเลขที่จดจำ
ได้ยาก ดังนั้นเพื่อแก้ปัญาหาดังกล่าง จึงได้มีการนำอินเทอร์เน็ตแอดเดรส หรือ โดเมนเนมมาใช้ กล่าวคือการนำ
ตัวอักษรที่จำได้ง่ายมาใช้แทน IP address อินเทอร์เน็ตแอตเดรสจะไม่ซ้ำกันและเพื่อสะดวกในการจดจำชื่อโดเมน
ดังนั้นโดเมนเนม มักนิยมตั้งให้สอดคล้องกับชื่อของบริษัท หรือชื่อองค์กรผู้เป็นเจ้าของเหล่านี้เป็นต้น


208.49.20.16 < ---------------> www.srithai.com

(IP Address) (โดเมนเนม)

แม้ว่าเราใช้โดเมนเนม แต่เนื่องจากรูปแบบการสื่อสารข้อมูลในอินเทอร์เน็ตใช้ IP address จึงต้อง
มีการแปลงโดเมนเนมกลับไปเป็น IP address โดยจะมีการจัดตั้ง คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะที่มีชื่อ
เรียกว่า DNS Serve

www.srithai.com -----> DNS Server -----> 208.49.20.16




ผู้ให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet Service Providers)

ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจะถูกส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารซึ่งในแต่ละพื้นที่
หรือแต่ละประเทศซึ่งจะต้องรับผิดชอบกันเอง เพื่อเชื่อมต่อกับระบบใหญ่ของโลกให้ได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของ
Internet Service Providers (ISP) ซึ่งได้แก่ องค์กรที่ทำหน้าที่ให้บริการเชื่อมต่อสายสัญญาณจากแหล่ง
ต่างๆ ของผู้ใช้บริการ เช่น จากที่บ้าน สำนักงาน สถานบริการ และแหล่งอื่นๆ เพื่อเชื่อมต่อกับระบบใหญ่ออกไป
นอกประเทศได้ ผู้ให้บริการ (ISP) ในประเทศ มีหลายที่ เช่น KSC, Loxinfo, Samart และอีกหลายๆ แห่งที่เปิดให้บริการ




การรักษาความปลอดภัยระบบเครือข่าย

ในระบบเครือข่ายนั้นจะมีผู้ร่วมใช้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงมีทั้งผู้ที่ประสงค์ดีและประสงค์ร้ายควบคู่
กันไป สิ่งที่พบเห็นกันบ่อยๆ ในระบบเครือข่ายก็คืออาชญากรรมทางด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลายประเภทด้วยกัน
เช่น พวกที่คอยดักจับสัญญาณผู้อื่นโดยการใช้เครื่องมือพิเศษจั๊มสายเคเบิลแล้วแอบบันทึกสัญญาณ พวกแคร๊กเกอร์
(Crackers) ซึ่งได้แก่ ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญด้านคอมพิวเตอร์แต่มีนิสัยชอบเข้าไปเจาะระบบคอมพิวเตอร์ผ่าน
เครือข่าย หรือไวรัสคอมพิวเตอร์ (Virus Computer) ซึ่งเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นมาโดยมุ่งหวัง
ในการก่อกวน หรือทำลายข้อมูลในระบบ

การรักษาความปลอดภัยในระบบเครือข่ายมีวิธีการกระทำได้หลายวิธี คือ

1. ควรระมัดระวังในการใช้งาน การติดไวรัสมักเกิดจากผู้ใช้ไปใช้แผ่นดิสก์ร่วมกับผู้อื่น แล้วแผ่นนั้นติดไวรัสมา
หรืออาจติดไวรัสจากการดาวน์โหลดไฟล์มาจากอินเทอร์เน็ต

2. หมั่นสำเนาข้อมูลอยู่เสมอ การป้องกันการสูญหายและถูกทำลายของข้อมูลที่ดีก็คือ การหมั่นสำเนา
ข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ

3. ติดตั้งโปรแกรมตรวจสอบและกำจัดไวรัส วิธีการนี้ สามารตรวจสอบ และป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ได้
ระดับหนึ่ง แต่ไม่ใช่เป็นการป้องกันได้ทั้งหมด เพราะว่าไวรัสคอมพิวเตอร์ได้มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา

4. การติดตั้งไฟร์วอลล์ (Firewall) ไฟร์วอลล์จะทำหน้าที่ป้องกันบุคคลอื่นบุกรุกเข้ามาเจาะเครือข่ายในองค์กร
เพื่อขโมยหรือทำลายข้อมูล เป็นระยะที่ทำหน้าที่ป้องกันข้อมูลของเครือข่าย โดยการควบคุมและตรวจสอบการรับส่ง
ข้อมูลระหว่างเครือข่ายภายในกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

5. การใช้รหัสผ่าน (Username & Password) การใช้รหัสผ่านเป็นระบบรักษาความปลอดภัยขั้นแรก
ที่ใช้กันมากที่สุด เมื่อมีการติดตั้งระบบเครือข่ายจะต้องมีการกำหนดบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่าน หากเป็นผู้อื่นที่
ไม่ทราบรหัสผ่านก็ไม่สามารถเข้าไปใช้เครือข่ายได้ หากเป็นระบบที่ต้องการความปลอดภัยสูงก็ควรมีการเปลี่ยน
รหัสผ่านบ่อย ๆ เป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง



จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

ปัจจุบันมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก และมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกวัน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เป็นระบบออนไลน์ที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้ ในเครือข่ายย่อมมีผู้ประพฤติไม่ดีปะปนอยู่ซึ่งก่อให้เกิด
ปัญหาต่อส่วนรวมอยู่เสมอ
แต่ละเครือข่ายจึงได้ออกกฏเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่าย เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายของตน
ยึดถือและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เหล่านี้ จะช่วยให้สมาชิกโดยส่วนรวมได้รับประโยชน์สูงสุด และป้องกันปัญหาที่เกิด
จากผู้ใช้บางคนได้ ดังนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนจะต้องเข้าใจกฏเกณฑ์ ข้อบังคับของเครือข่ายที่ตนเองเป็นสมาชิก
จะต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่น และจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไป
ขอใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์


การใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นสังคมที่
น่าใช้และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ผู้ใช้จะต้องหลีกเลี่ยงกิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติ เช่น การส่งกระจายข่าวลือ
จำนวนมากบนเครือข่าย การกระจายข่าวแบบส่งกระจายไปยังปลายทางจำนวนมาก การส่งเอกสารจดหมายลูกโซ่
เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้จะเป็นผลเสียต่อส่วนรวม และไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ต่อสังคมอินเทอร์เน็ต



บัญญัติ 10 ประการ สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

ยืน ภู่วรวรรณ ได้กล่าวถึงบัญญัติ 10 ประการ ซึ่งเป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้
เสมือนเป็นแม่บทของการปฏิบัติ ผู้ใช้พึงระลึกและเตือนความจำเสมอ

1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำของท่าน
10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฏระเบียบ กติกา และมีมารยาท


จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นระเบียบ ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องที่จะต้อง
ปลูกฝังกฏเกณฑ์ของแต่ละเครือข่าย จะต้องมีการวางระเบียบ เพื่อให้การดำเนินงาน เป็นไปอย่างมีระบบ และเอื้อ
ประโยชน์ซึ่งกันและกัน บางเครือข่ายมีบทลงโทษที่ชัดเจน เช่น การปฏิบัติผิดกฏเกณฑ์ของเครือข่าย จะต้องตัดสิทธิ์
การเป็นผู้ใช้ของเครือข่าย ในอนาคตจะมี การใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก จรรยาบรรณจึงเป็นสิ่งที่ช่วย
ให้สังคมอินเทอร์เน็ต สงบสุข หากมีการละเมิดอย่างรุนแรง กฎหมายจะเข้ามามีบทบาทต่อไป




จรรยาบรรณเกี่ยวกับเวิล์ดไวด์เว็บ (WWW)

1. ไม่ควรใส่รูปภาพที่มีขนาดใหญ่ไว้ในเว็บเพจของท่าน เพราะทำให้ผู้ที่เรียกดูต้องเสียเวลามาก ในการแสดงภาพ
เหล่านั้น ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตส่วนมากเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยโมเด็ม ทำให้ผู้เรียกดูรูปภาพขนาดใหญ่เบื่อเกิน
กว่าที่จะรอชมรูปภาพนั้นได้

2. เมื่อเว็บเพจของท่านต้องการสร้าง link ไปยังเว็บเพจของผู้อื่น ท่านควรแจ้งให้เจ้าของเว็บเพจ นั้นทราบ
ท่านสามารถแจ้งได้ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

3. ถ้ามีวิดีโอหรือเสียงบนเว็บเพจ ท่านควรระบุขนาดของไฟล์วิดีโอหรือไฟล์เสียงไว้ด้วย (เช่น 10 KB, 2 MB เป็นต้น)
เพื่อให้ผู้เรียกดูสามารถคำนวนเวลา ที่จะใช้ในการดาวน์โหลด ไฟล์วิดีโอ หรือไฟล์เสียงนั้น


4. ควรตั้งชื่อ URL ให้ง่าย ไม่ควรมีตัวอักษรตัวใหญ่ปนกับตัวอักษรตัวเล็ก ซึ่งจำได้ยาก

5. ถ้าต้องการเรียกดูข้อมูลจาก URL ที่ไม่ทราบแน่ชัด ท่านสามารถเริ่มค้นหาจาก Domain address ได้
โดยปกติ URL มักจะเริ่มต้นด้วย www แล้วตามด้วยที่อยู่ของเว็บไซต์

6. ถ้าเว็บไซด์มี link เชื่อมโยงไปยังเว็บเพจอื่นๆ ด้วยรูปภาพ อาจทำให้ผู้เรียกดูที่ใช้โปรแกรมบราวเซอร์ที่
ไม่สนับสนุนรูปภาพ ไม่สามารถเรียกชมเว็บไซต์ของท่านได้ ท่านควรเพิ่ม link ที่เป็นตัวหนังสือเพื่อเชื่อมโยง
ไปยังเว็บเพจอื่นๆ ด้วย

7. ไม่ควรใส่รูปภาพที่ไม่มีความสำคัญต่อข้อมูลบนเว็บเพจ เนื่องจากไฟล์ของรูปภาพมีขนาดใหญ่ ทำให้เสียเวลา
ในการเรียกดูและสิ้นเปลือง bandwidth โดยไม่จำเป็น

8. ควรป้องกันลิขสิทธิ์ของเว็บไซต์ด้วยการใส่เครื่องหมาย trademark (TM) หรือเครื่องหมาย Copyright
ไว้ในเว็บเพจแต่ละหน้าด้วย

9. ควรใส่ Email address ของท่านไว้ด้านล่างของเว็บเพจแต่ละหน้า เพื่อให้ผู้เรียกชมสามารถสอบถามเพิ่มเติม
หรือติดต่อท่านได้

10. ท่านควรใส่ URL ของเว็บไซต์ไว้ด้านล่างของเว็บเพจแต่ละหน้าด้วย เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงในอนาคตสำหรับ
ผู้ที่สั่งพิมพ์เว็บเพจนั้น

11. ควรใส่วันที่ของการแก้ไขข้อมูลบนเว็บไซต์ครั้งสุดท้ายไว้ด้วย เพื่อให้ผู้เรียกชมทราบว่าข้อมูลที่ได้รับนั้น
มีความทันสมัยเพียงใด

12. ห้ามไม่ให้เว็บไซด์มีเนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์ มีเนื้อหาที่ตีความไปในทางลามกอนาจาร หรือการใช้ความ รุนแรง
เนื้อหาที่ขัดต่อกฎหมาย ผู้จัดทำเว็บไซต์จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อเนื้อหาและข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นั้น




จรรยาบรรณเกี่ยวกับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (email) และแฟ้มข้อมูล

ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนมีตู้จดหมาย (mailbox) และอีเมล์แอดเดรสที่ใช้อ้างอิงในการรับส่งจดหมาย
ความรับผิดชอบต่อการใช้งานจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะระบบ
จะรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์โดยอัตโนมัติ หากมีจดหมายค้างในระบบเป็นจำนวนมาก จะทำให้พื้นที่จัดเก็บ
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของระบบหมดไป ส่งผลให้ระบบไม่สามารถรับส่งจดหมายได้อีก ทำให้ผู้ใช้ทุกคนในระบบ
ไม่สามารถรับส่งจดหมายที่สำคัญได้อีกต่อไป นอกจากนี้ผู้ใดผู้หนึ่งส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดใหญ่มาก
ส่งแบบกระจายเข้าไปในระบบเดียวกันพร้อมกันหลายคน จะทำให้ระบบหยุดทำงานได้เช่นกัน


ผู้ใช้ทุกคนพึงระลึกเสมอว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บตู้จดหมายของแต่ละคนมิได้ มีผู้ใช้เพียง
ไม่กี่คนแต่อาจมีผู้ใช้เป็นพันคน หมื่นคน ดังนั้นระบบอาจมีปัญหาได้ง่าย ผู้ใช้แต่ละคนจะต้องมีความรับผิดชอบ
ในการดูแลตู้จดหมายของตนเอง ดังนี้

1. ตรวจสอบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของตนเองทุกวัน และจะต้องจัดเก็บแฟ้มข้อมูลและจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์
ของตนให้เหลือภายในโควต้าที่ผู้บริหารเครือข่ายกำหนดให้

2. ลบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ต้องการแล้ว ออกจากระบบเพื่อลดปริมาณการใช้เนื้อที่ระบบ

3. ดูแลให้จำนวนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในตู้จดหมาย มีจำนวนน้อยที่สุด

4. ควรโอนย้ายจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่จะใช้อ้างอิงภายหลัง มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง

5. พึงระลึกเสมอว่าจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่เก็บไว้ในตู้จดหมายนี้อาจถูกผู้อื่นแอบอ่านได้ ดังนั้น
ไม่ควรจัดเก็บข้อมูลหรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ใช้แล้วไว้ในตู้จดหมาย

หลังจากผู้ใช้ได้รับบัญชี (account) ในโฮสจากผู้บริหารเครือข่าย ผู้ใช้จะได้รับสิทธิ์ ให้ใช้เนื้อที่
ของระบบ ซึ่งเป็นเนื้อที่เฉพาะที่เรียกว่า "โฮมไดเรกทอรี" ตามจำนวนโควต้าที่ผู้บริหารเครือข่ายกำหนด ผู้ใช้จะ
ต้องมีความรับผิดชอบต่อเนื้อที่ดังกล่าว เพราะเนื้อที่ของระบบเหล่านี้เป็นเนื้อที่ที่ใช้ร่วมกัน เช่นโฮสแห่งหนึ่งมีผู้ใช้
ร่วมกันสามพันคน ถ้าผู้บริหารเครือข่ายกำหนดเนื้อที่ให้ผู้ใช้คนละ 3 เมกะไบต์ โฮสจะต้องมีเนื้อที่จำนวน 9 จิกะไบต์
โดยความเป็นจริงแล้ว โฮสไม่มีเนื้อที่จำนวนมากเท่าจำนวนดังกล่าว เพราะผู้บริหารเครือข่ายคิดเนื้อที่โดยเฉลี่ย
ของผู้ใช้เป็น 1 เมกะไบต์ ดังนั้นถ้าผู้ใช้ทุกคนใช้พื้นที่ให้พอเหมาะและจัดเก็บเฉพาะแฟ้มข้อมูล ที่จำเป็นจะทำให้
ระบบมีเนื้อที่ใช้งานได้มาก ผู้ใช้ทุกคนควรมีความรับผิดชอบร่วมกัน ดังนี้

1. จัดเก็บแฟ้มข้อมูลในโฮมไดเรกทรอรีของตนให้มีจำนวนต่ำที่สุด ควรโอนย้ายแฟ้มข้อมูลมาเก็บไว้ที่เครื่อง
คอมพิวเตอร์ของตนเอง

2. การแลกเปลี่ยนแฟ้มข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนและผู้อื่นในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ควรจะตรวจสอบ
ไวรัสเป็นประจำ เพื่อลดการกระจายของไวรัสในเครือข่าย

3. พึงระลึกเสมอว่าแฟ้มข้อมูลของผู้ใช้ที่เก็บไว้บนเครื่องนั้น อาจได้รับการตรวจสอบโดยผู้ที่มีสิทธิ์สูงกว่า ดังนั้นผู้ใช้
ไม่ควรเก็บแฟ้มข้อมูลที่เป็นเรื่องลับเฉพาะไว้บนโฮส